Page 4

จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue1

จดหมายข่าว ห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของฝาก พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ถ้าเปรียบเทียบแหล่งพลังงานเหมือนกับเงินในธนาคาร พลังงาน หมุนเวียนก็จะเปรียบเหมือนดอกเบี้ยของเงินฝากนั้น คือ ถ้าตราบใดที่ เราถอนมาใช้ในจำ�นวนที่เท่ากับดอกเบี้ยที่ได้หรือน้อยกว่า เงินฝากก้อน นั้นก็ยังอยู่ในธนาคารสามารถให้ดอกเบี้ยต่อไปได้เรื่อยๆ พลังงานหมุนเวียนส่วนมากจะได้รับพลังงานโดยตรงหรือ ทางอ้อมอย่างใดอย่างหนึ่งจากแสงอาทิตย์ แหล่งพลังงานเหล่านี้จึงมี อยู่ตราบนานเท่าที่ดวงอาทิตย์คงอยู่ พลังงานหมุนเวียนที่รู้จักกันดี คือ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ� (จากการไหลของน้ำ�) พลังงานลม และ พลังงานชีวมวล ซึ่งจะหมุนเวียนใช้ได้ตราบนานเท่าที่การใช้พลังงาน เหล่านี้ไม่สูงเกินกว่ากำ�ลังผลิต หรือไม่ถูกนำ�มาใช้เกินกำ�ลังของการถูก สร้างขึ้นมาใหม่ แหล่งพลังงานสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท โดยแบ่งตาม ระยะเวลาที่ทรัพยากรเหล่านั้นจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งกำ�หนดระยะ เวลาโดยมนุษย์ ที่มา : พลังงานเพื่อทุกชีวิต คู่มือรุ่งอรุณ (ระยะที่ 2) เล่มที่ 1 หน้า 26-27 4 แหล่งพลังงาน และกระบวนการผลิต นับตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่มนำ��ก้อนหินมากระทบกัน จนกระทั่งเกิดประกายไฟตกลงบนกองกิ่งไม้ ศักยภาพในการนำ�� พลังงานมาใช้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไป จากนั้นมาพลังงานกลายเป็นแหล่งทรัพยากรที่เอื้อประโยชน์ในยามที่ต้องการ มนุษย์ ใช้พลังงานเพื่อให้ความอบอุ่น นับเรื่อยไป จนถึงการนำ��มาสร้างเขื่อนที่อาศัยแรงดันของน้ำ�� (พลังงานศักย์ เปลี่ยนเป็น พลังงานจลน์) มาใช้ในการผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงาน มีนิยามที่รู้จักกันทั่วๆ ไปว่าเป็นความสามารถในการทำ�งาน แต่ เมื่อมองดูไม้ น้ำ�มัน ถ่านหิน ที่รู้จักกันในฐานะแหล่งพลังงาน อาจจะ รู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นไม่น่าที่จะทำ�งานหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ด้วยตัวเอง มากนัก เป็นเพราะว่าทั้งไม้ น้ำ�มัน และถ่านหิน มีพลังงานสะสมอยู่ ครั้งหนึ่งทั้งน้ำ�มันและถ่านหินเคยมีชีวิตในฐานะเป็นต้นไม้หรือพืชที่ เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ มาเป็นอาหาร ใช้ในการเจริญเติบโต ส่วนหนึ่ง และถ่ายทอดพลังงานผ่านห่วงโซ่อาหารไปสู่สัตว์ต่างๆ ต่อไป ส่วนไม้ที่นำ�มาใช้เป็นฟืนก็คือต้นไม้ที่เพิ่งมีชีวิตอยู่ก่อนที่จะตัดมาใช้ พลังงานที่สะสมในรูปแบบของเชื้อเพลิง การเผาไหม้ เป็นกระบวนการหนึ่งที่ปลดปล่อยพลังงานที่สะสมในแหล่ง พลังงานต่างๆ หลายศตวรรษมาแล้ว มนุษย์เรียนรู้ที่จะจุดฟืนเพื่อใช้ แสงสว่าง และความอบอุ่นจากการเผาไม้นั้น ต่อมามีการค้นพบแหล่ง เชื้อเพลิงจากฟอสซิลที่ใช้ความร้อนดีกว่า และยังนำ�มาใช้สร้างงานได้อีกด้วย การพัฒนาของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจากการเผาฟืน มาจนถึงการ เผาไหม้ของเชื้อเพลิง มีอิทธิพลต่อการดำ�รงชีวิตของเราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะ เป็นกิจกรรมใดก็ตาม จะเห็นหลักฐานของการใช้พลังงานจากแหล่งเหล่านี้ ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมาในตอนเช้า เปิดไฟ ทำ�อาหารเช้า ขึ้นรถไปโรงเรียน เรืิ่อยไปจนหมดวัน ถ้ามองเห็นภาพเหล่านี้ก็คงจะพอนึกออกว่าพลังงาน คือความสามารถในการทำ�ให้เกิดงานและเปลี่ยนแปลงงานได้อย่างไรบ้าง พลังงานสิ้นเปลือง (Non-renewable Energy) ซากพืช ซากสัตว์ ที่ทับถมกันจนกลายเป็นเชื้อเพลิงจากซาก ดึกดำ�บรรพ์ (Fossil Fuels) ซึ่งได้กลายมาเป็นถ่านหิน น้ำ�มัน และก๊าซ ธรรมชาติ จากกระบวนการทับถมกันของซากดึกดำ�บรรพ์ที่ใช้เวลาเป็นล้านๆ ปี เชื้อเพลิงจากซากดึกดำ�บรรพ์จึงไม่สามารถทดแทนได้ภายในชั่วอายุคน ยุคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 200 ปีที่ผ่านมาอันเป็นความ สำ�เร็จยิ่งใหญ่ของการนำ�พลังงานมาใช้กับเครื่องจักร ด้วยความเข้าใจ ว่าแหล่งพลังงานที่ได้มามีอยู่อย่างมหาศาล และมีราคาถูกเมื่อเทียบกับ แหล่งพลังงานอื่นๆ โลกยุคใหม่จึงพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของความคิดนี้ แต่ลืมไปว่าแหล่งพลังงานนี้มีปริมาณอยู่จำ�กัด การใช้ที่ผ่านมาจึงทำ�ให้ จำ�นวนลดลงอย่างต่อเนื่อง “ถ้าสร้างเขื่อนเก็บน้ำ� เพื่อนำ�มาผลิตกระแสไฟฟ้า แต่น้ำ�จากภูเขาจำ�นวนลดลง หรือ ฝนไม่ตกลงมา น้ำ�ในเขื่อนก็ลดน้อยลงจนไม่สามารถนำ�มาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้”


จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue1
To see the actual publication please follow the link above