จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน (GLOBAL WARMING) ปัจจุบันนี้คำว่า “ภาวะโลกร้อน” เป็นคำยอดฮิตที่คุ้นหูคนทั่วโลกกันมากที่สุด คำหนึ่ง เพราะจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฝน หลงฤดู อากาศที่ร้อนจัด หรืออากาศที่หนาวจัดจนทำให้เกิดหิมะตกเป็นครั้งแรกใน หลาย ๆ พื้นที่ รวมทั้งภัยธรรมชาติที่นับวันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งสัญญาณ บอกให้เรารู้ว่า “ภาวะโลกร้อน” ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมองข้ามและเพิกเฉยไปได้อีกต่อไป คอลัมน์ “ของฝาก” ฉบับนี้ จึงขอนำเรื่องราวของ “ภาวะโลกร้อน” มาบอกต่อให้เข้าใจและนำไปปฏิบัต ิ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในโลกของเรา ภาวะโลกร้อน (GLOBAL WARMING) คือ ปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกและ ผืนมหาสมุทรสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณ ก๊าซเรือนกระจก (GREENHOUSE GASES) ที่เกิดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ทำให้ก๊าซ เรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสี ของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซ เรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อย ๆ สูงขึ้นจากเดิม รู้จักกับก๊าซเรือนกระจก (GREENHOUSE GASES) ก๊าซเรือนกระจก ที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ได้แก่ ก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) และ โอโซน (O3) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่นและเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้ แต่กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้พลังงาน ฟอสซิล (FOSSIL FUEL) เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ มาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมากจนเกินความเหมาะสม บรรยากาศโลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศต่าง ๆ ปรากฏการณ์เรือนกระจก (GREENHOUSE EFFECT) โลกของเรามีก๊าซต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบ ทำหน้าที่คล้ายเรือนกระจกเป็นเกราะกำบัง กรองความร้อนที่จะผ่านลงมายังพื้นผิวโลก และเก็บกักความร้อนบางส่วนเอาไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะ สำหรับการดำรงชีวิต แต่ในปัจจุบัน จากการที่ก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมากมายมหาศาล จนเกินไป คลื่นความร้อนที่ควรจะสะท้อนออกไปนอกโลก กลับถูกเก็บกักสะสมเอาไว้ ความร้อนไม่ สามารถถ่ายเทออกสู่นอกชั้นบรรยากาศได้ หรือถ่ายเทออกได้ในปริมาณน้อยลง ชั้นบรรยากาศที่ ห่อหุ้มโลก ซึ่งเคยเป็นเกราะกำบังอันตราย ก็เปลี่ยนเป็นปราการกักเก็บความร้อน ทำให้อุณหภูมิโลก สูงขึ้นคล้าย ๆ กับเรือนกระจก 4
จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue3
To see the actual publication please follow the link above