จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม นกฮูกโด,ย ปั ฐวี นสุขสวัสกดิ์ เค้ากู่ (Collared Scops-Owl) Otus lettia ฮ.นกฮูกตาโต พยัญชนะไทยตัวสุดท้ายที่ตอนเด็กๆ เราจะท่องจำกันเสียงดังปิดท้ายการท่องจำพยัญชนะไทยจนครบทั้ง 44 ตัว แต่จะ มีใครสักกี่คนที่รู้จัก “นกฮูกตาโต” กันจริงๆ หลายคนอาจเคยเห็นนกกลางคืน ก็จะเหมารวมกันว่านกที่หากินกลางคืนจะเป็นนกฮูกทั้งสิ้น หรือ ความเชื่อของคนไทยอาจจะคิดเลยเถิดไปเลยว่าเป็นนกแห่งความตาย วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ “นกฮูกตาโต” ให้มากขึ้นกันดีกว่า รับรองว่าเรา จะรักนกชนิดนี้มากขึ้นเลยทีเดียว นกฮูก หรือนกเค้ากู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Otus lettia ชื่อสามัญ Collared Scops-Owl เป็นนกประจำถิ่น (Common Resident) มีขนาดประมาณ 23 เซนติเมตร สามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มนกล่าเหยื่อตอนกลางคืน ในกลุ่มนกเค้า หรือ Strigidae (เช่น นกเค้าภูเขา นกเค้าใหญ่พันธุ์ต่างๆ นกทึดทือ เป็นต้น) ซึ่งเป็นญาติสนิทกับนกแสก (Barn Owl) ที่เรารู้จักกันนั่นเอง มีดวงตากลมโตสีน้ำตาลแดง เข้ม ขนลำตัวสีน้ำตาล รอบคอสีน้ำตาลแกมเหลือง หน้าผากและคิ้วสีน้ำตาลอ่อน ลำตัวด้านสีเนื้อแกมเทาจางๆ มีลายขีดสีดำเป็นเส้นบางๆ เสียง ร้อง ปู๊ววว หรือ วู๊ววววว คล้ายคนกู่ร้อง จึงเป็นที่มาของชื่อนกเค้ากู่ นั่นเอง หรือบางคนอาจได้ยินเป็นเสียง ฮูกกกกก ก็มีได้เช่นกัน ลักษณะทาง กายภาพของนกฮูกหรือนกเค้ากู่นั้นเอื้อต่อการหากินในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างยิ่ง จนมีผู้ขนานนามว่าเหยี่ยวราตรี ก็มี เช่น การมีใบหน้าที่ใหญ่ ช่วยในการรับฟังเสียงและหูที่ทรงประสิทธิภาพในการได้ยิน สามารถใช้ในการรับฟังเสียงที่เบามากๆ ได้ เช่น เสียงหนูเดิน หรือตาของมันที่อยู ่ ด้านหน้าผิดจากนกอื่นๆ สามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้ดีกว่าตาของมนุษย์เป็นอย่างมาก ช่วยให้มันสามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้เป็น อย่างดี รวมถึงการมีหางที่สั้น ปีกมนที่แผ่กว้าง ขนที่อ่อนนุ่ม ช่วยลดเสียงเวลาบิน ทำให้การบินของมันเรียกได้ว่าแทบจะเป็น 0 เดซิเบล เลยทีเดียว ช่วยให้เหยื่อที่มันหมายจะจับหมดโอกาสรอดชีวิตไปได้ อาหารของนกฮูกได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น หนู งู จิ้งจก ตุ๊กแก เป็นต้น หรือแม้กระทั่งนกที่มีขนาดเล็ก กว่า รวมถึงผีเสื้อกลางคืน (Moth) โดยมันจะมีสมองในส่วนที่เรียกว่า Interior colliculus ในการคำนวณระยะห่างและสร้างภาพ 3 มิติเช่นเดียว กับตาของคน ก่อนที่จะพุ่งตัวบินโฉบเข้าไปและใช้กรงเล็บอันแหลมคม คล้ายกับเล็บของเหยี่ยวขยุ้มเหยื่อให้แน่นและใช้จะงอยปากอันแหลมคม เช่นกันฉีกเหยื่อกินอย่างสบายใจ ดังนั้นประโยชน์ของนกฮูกก็คือการช่วยควบคุมหรือช่วยกำจัด ศัตรูพืชและช่วยลดการระบาดของโรคอันเกิดจากสัตว์จำพวกหนูได้เช่นกัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ช่วยให้ระบบนิเวศมีความสมดุลอีกด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่านกฮูก จะเป็นสัตว์ผู้ล่าที่มีประสิทธิภาพแค่ไหนก็ตาม แต่ปัจจุบัน มันก็ได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น การทำลายป่าไม้ที่อยู่อาศัยของพวกมัน การขยายตัวของเมือง การอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีเสียงดังมาก ๆ หรือการถูกรบกวนจากมนุษย์ จะ ทำให้ประสิทธิภาพในการล่าและการขยายพันธุ์ลดลงไปด้วย การใช้สารเคมีในภาคเกษตรก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มันลดจำนวนลงได้ คือ เมื่อ เกษตรกรใช้สารเคมีในการวางยาเบื่อหนู ก็ทำให้นกอาจได้รับยานี้ด้วย ขบวนการการค้าและการเลี้ยงสัตว์ป่าก็มีการซื้อขายนกชนิดนี้เหมือนกัน นอกจากนี้ผู้เขียนเองยังเคยพบเห็นนกที่ถูกรถชนเสียชีวิตอีกด้วย เห็นมั๊ยล่ะครับนกฮูกตาโต หรือนกเค้ากู่ของเรา มีเรื่องราวและความสามารถที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว ดังนั้นการที่เราได้เรียนรู้ถึงบทบาท และความสำคัญ ของสิ่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจ สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเรา อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการอนุรักษ์ต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมดูนกในอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อทำกิจกรรมได้ โดยพื้นที่อุทยานฯ สามารถที่ จะดูนกได้ตลอดทั้งปี มีทั้งนกประจำถิ่น นกอพยพ นกอพยพผ่าน จำนวนกว่า 150 ชนิด เช่น นกกะรางหัวขวาน นกยางชนิดต่างๆ นกกระสาแดง นกหัวโตมลายู นกเอี้ยง และนกกิ้งโครง นกกระเต็น นกเหยี่ยว เป็นต้น • นกฮูก นกเค้าหรือนกที่หากินเวลากลางคืน บางชนิดที่เราเห็นบนหัวเหมือนมีเขานั้น จริง ๆ แล้วคือขนของมันต่างหาก ขนนี้มี ประโยชน์ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับฟังเสียงให้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง กลางคนืและเสยีงรอ้งอนัชวนสยองของมนันัน่เอง หรอืหากเราลองคดิดใูหมซ่วิา่ คนโบราณ คงจะรถู้งึประโยชนข์องมนัในการชว่ยกำจดั ศัตรูพืช ฉะนั้นจึงบอกว่าเป็นนกอัปมงคลห้ามไปยุ่งกับมัน เป็นกุศโลบายที่จะช่วยไม่ให้นกตระกูลนี้ถูกฆ่านั่นเอง 8 know?you Do • นกฮกู นัน้ ชาวตะวนัตกมคีวามเชือ่วา่เปน็สญัลกัษณข์องความฉลาด รอบร ู้เพราะวา่มนัเปน็สตัวป์ระจำองคเ์ทพอีธนีา่ (Athena) เทพีแห่งความฉลาดนั่นและสงครามนั่นเอง • คนไทยและอีกหลาย ๆ แห่งในเอเชียมีความเชื่อว่าเป็นนกแห่งโชคร้ายหรือนกแห่งความตาย เป็นเพราะด้วยการหากินในเวลา
จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue3
To see the actual publication please follow the link above