วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park พลตำรวจตรี ดิเรก พงษ์ภมร กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ Police Major General Direk Pongpamorn Board Member and Secretary General of SIEP Foundation “SIEP” is my great pride owing to the fact that I have proudly worked for HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. This Royal development project has been organized to build awareness and understanding in environmental issues to all people of all nations in this globe. The most obviously important thing is the plenty of potential areas for education. There should be created as a perfect natural classroom of each ecosystem, just like all-in-one ecology research laboratory, according to the connecting from watershed in the mountainous forest to mangrove ecosystem beside the sea. The origin of SIEP started from the requirement of mangrove planting of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn to restore mangrove habitats. More than 200 red mangroves (Rhizophora mucronata) had been planted and many studies of maintenance and monitoring had been done afterward. At the beginning of the studies at SIEP, the Park faced many problems, mainly from sands, being washed away with the tide, depositing in the canals near the planted area. This covered sand made the tide at the mangrove habitat disappear. Therefore, the solution for this problem was using machines to get the covered sands out of the canals so as to let the tide run in normal patterns once again. However, this method did not solve the problem sustainably. The Park then asked for the advice from the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning in coastal system management to solve this problem. After understanding the coastal system, we saw lots of ways to develop this area. The first development was the establishment of sand protection measures for the canals and no machines for digging out were needed any longer. When the initiated project was full of values and advantages to community, we consequently introduced “SIEP”. The Park has been established as a celebration for the 48th birthday anniversary of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. SIEP is aimed to be a learning source of environmental protection, renewable energy, and energy conservation. Various activities in the Park will build up the awareness in environment protection and energy conservation for people. All of these will allow people to understand the ecosystem and environment better. If we can get the public more involve, we will have a model of sustainable development integrated with public participation; the actual advantages. “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” ถือเป็นความ ภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการถวายงานตามโครงการพระราช ดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่ง โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อมุ่งสร้างจิตสำนึก และสร้าง ความรู้ความเข้าใจในด้านสิ่งแวดล้อมต่อมวลมนุษยชาติ ไม่ได้เพียง แค่ประชาชนคนไทยเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดที่มองเห็นคือ ศักยภาพของพื้นที่นี้มีอยูม่ากมาย ในด้านการศึกษา และน่าจะทำเป็นห้องเรียนระบบนิเวศธรรมชาติได้ อย่างสมบูรณ์แบบครบวงจรของระบบนิเวศ เนื่องจากการเชื่อมต่อของ ต้นกำเนิดน้ำบนภูเขา สู่กลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ จนกระทั่งไปจบที่ทะเล จุดเริ่มต้นของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เริ่มมา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต้องการพื้นที่ ปลูกป่าชายเลน และทรงเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเหมาะที่จะปลูกเพื่อฟื้นฟู สภาพป่าชายเลน เพราะเดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าชายเลน และเริ่มปลูก ต้นโกงกางใบใหญ่ขึ้นมาจำนวน 200 กว่าต้น หลังจากนั้นมีการดูแล รักษาและศึกษาทำวิจัยเพื่อติดตามผล ในช่วงแรกของการศึกษา ทางอุทยานฯ เจอปัญหามากมาย โดยเฉพาะเรื่องของทรายที่น้ำทะเลพัดพามาปิดปากคลอง ทำให้ระบบ น้ำขึ้น น้ำลง ของป่าชายเลนหายไป จึงแก้ปัญหาด้วยการนำเครื่องจักร เข้ามาขุดทรายเพื่อเปิดทางน้ำ ทำให้เกิดน้ำขึ้น น้ำลง ตามธรรมชาติ แต่การใช้วิธีนี้ไม่ยั่งยืน ทางอุทยานฯ จึงต้องขอคำปรึกษาจาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมา ช่วยศึกษาระบบชายฝั่งทะเล เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หลังจากศึกษาระบบชายฝั่งทะเลเรียบร้อยแล้ว ทำให้เราเห็น แนวทางการพัฒนาต่างๆ อีกมากมาย อย่างแรกคือแนวป้องกันทราย ไม่ให้มาปิดปากคลอง และยังจะทำให้มีสภาพน้ำขึ้น น้ำลง โดยไม่ต้อง พึ่งเครื่องจักรอีกต่อไป และเมื่อการเริ่มต้นมีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มากมาย เราจึงเสนอ “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” แห่งนี้ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 48 พรรษา เพื่อต้องการให้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน ผ่านกิจกรรม ต่างๆ ในการปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนได้เข้าถึง เข้าใจในความสำคัญของ การรักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้คนได้เข้าใจต่อระบบนิเวศ หรือ สิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น และหากเราสามารถสร้างชุมชนให้มีส่วนร่วม มากขึ้น จะเป็นการพัฒนาพื้นที่ และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบ ของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบประชาชนมีส่วนร่วมเป็นระบบแบบ ยั่งยืน เป็นประโยชน์ที่เห็นเป็นรูปธรรม “การเริ่มต้นที่มีคุณค่าและคุณประโยชน์” “The Valuable and Advantageous Start” 23
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above