วันนี้...กับภารกิจของอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร บริหารจัดการโดย มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานกรรมการก่อตั้งมูลนิธิฯ เพื่อให้ดำเนินงานไป ตามแนวทางพระราชดำริ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ใน พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2545 เป็นต้นมา นับจากนั้นมา อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จึง ถือกำเนิดขึ้น และได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ อุทยานฯ ในการสนองแนวทางพระราชดำริอย่างต่อเนื่อง อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ยังได้รับพระมหา กรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2551 นำความปลาบปลื้มมาสู่คณะผู้บริหาร และ บุคลากร ตลอดจน หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนการดำเนิน งานตามแนวทางพระราชดำริของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธรเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบัน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มีศักยภาพเป็น แหล่งฝึกอบรมและเผยแพร่ การสาธิตความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี บูรณาการกับการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาไทย ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ให้ความสนใจเข้ามา ศึกษาเรียนรู้ มีอาคารและสถานที่ที่เอื้อต่อการดำเนินงานตามภารกิจ หลักของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ซึ่งประกอบไปด้วยแหล่ง เรียนรู้และการสาธิตต่างๆ ดังต่อไปนี้ The Mission of the Sirindhorn International Environmental Park SIEP is operated by the Sirindhorn International Environmental Park Foundation under the Patronage of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. Dr. Sumet Tantivejkul is the chairman of the Foundation Board. The Board will progress the mission according to HRH the Princess’ concepts and guideline. SIEP Foundation has been created under the Patronage of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn since May 28, 2002. Since then, SIEP has been organized. Through the great and continual assistance of various organizations including government agencies and private sectors, the operation of the Park has been regularly supported. SIEP was immeasurably blessed by HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn via grand opening on July 19, 2008, which brought magnificent happiness to all of executives and employees of the Park, as well as the supported agencies to the Park. Now SIEP has potential to be a source of training, distribution and demonstration of information on science and technology integrated with conservation of energy, natural resources and environment as well as the local wisdom for interested students and general people, both Thais and foreigners. The Park holds various buildings and facilities that can facilitate the activities, which are consistent with SIEP’s mission. These learning and demonstration resources are as follow: 1. The Princess Mangrove Plantation After the partial dredging at Bang Tra Noi canal and Bang Tra Yai canal by the Border Patrol Police Bureau in order to prepare the area for mangrove plantation had done, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn had come to plant the red mangroves on August 17, 1994 and given the additional suggestion “do learn how to survive the planted mangroves and then plant more”. The lesson learned from this area is later the important data for other similar mangrove planting sites. The “Princess Mangrove Plantation” is one of the important learning sources in the country on mangrove ecosystem and mangrove restoration. 1. สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม หลังจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้รับสนอง พระราชดำริขุดลอกทรายเพื่อเตรียมพื้นที่ปลูกป่าชายเลน บริเวณ คลองบางตราน้อยและคลองบางตราใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้น โกงกางไว้ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 และได้พระราชทานพระราช ดำริเพิ่มเติม “ให้ดำเนินการศึกษาหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ ชายเลนที่ทรงปลูกไว้นี้ให้อยู่รอด และดำเนินการปลูกเพิ่มเติมต่อไป” เพื่อที่จะได้เป็นข้อมูลสำคัญในการปลูกสวนป่าชายเลนในพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันหรือใกล้เคียงกันต่อไป “สวนป่าชายเลนทูลกระหม่อม” เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องระบบ นิเวศป่าชายเลนและการฟื้นฟูป่าชายเลนที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ ประเทศ วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park 25
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above