4. ระบบบำบัดน้ำเสียแบบควบรวมบึงประดิษฐ์ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยกระบวนการทางธรรมชาติ ผสมผสานกับการปลูกพืช เช่น กก แฝก และธูปฤๅษี ซึ่งมีลักษณะ คล้ายกับพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้บำบัดน้ำเสีย จากบ้านพักข้าราชการตำรวจ ค่ายพระรามหก ขนาด 200 ลูกบาศก์ เมตรต่อวัน บนเนื้อที่ประมาณ 9.5 ไร่ ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา สิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระบบบำบัด น้ำเสียนี้ บริหารจัดการโดยองค์การจัดการน้ำเสีย 5. แหล่งเรียนรู้ด้านการป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่งทะเล พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลของอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร ได้มีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ประกอบไปด้วยเกาะกันคลื่นและรอดักทราย เพื่อลดความรุนแรงของ คลื่น และเพิ่มปริมาณทรายบริเวณชายฝั่งหน้าอุทยานฯ และสร้าง เขื่อนกันทรายที่บริเวณปากคลองบางตราน้อยและคลองบางตราใหญ่ ให้น้ำทะเลเข้าออกได้ตามปกติ เพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศ ป่าชายเลน ในการขยายพันธุ์สัตว์น้ำออกสู่ทะเล และเป็นประโยชน์ ในการพักหลบคลื่นสำหรับเรือประมงพื้นบ้าน วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park 4. Wastewater Treatment System: The Integrated Constructed Wetlands The Integrated Constructed Wetlands is the system for wastewater treatment using natural processes integrated with plantation. The plants to be used in the process are the plants those found in natural wetlands, such as bulrush, reed, and cattail. The wastewater from lodging houses of police officers at the Rama VI Camp about 200 cubic meters daily has been discharged to the area of constructed wetlands of 9.5 Rais. The technology applied to this treatment is developed from the Laem Phak Bia project, the Royal environmental research and development project. Thus, this technology plays an important role in promoting environmental conservation and biodiversity. This wastewater treatment system is operated by the Wastewater Management Authority (WMA). 6. แหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ - ในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร ได้มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน 2 จุด คือ อาคารศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม บริเวณอาคารจอดรถ ขนาดกำลังผลิต 28.86 กิโลวัตต์ และค่ายการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม ขนาดกำลังผลิต 16.095 กิโลวัตต์ ในรูปแบบต่อไฟฟ้าเข้า ระบบและแบบอิสระ เพื่อนำมาใช้เป็นไฟแสงสว่างบริเวณอาคาร จอดรถและทางเดินในช่วงกลางคืน นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งระบบสูบน้ำ ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของดินในป่าอีกด้วย พลังงานลม - การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานลมใน การใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยการติดตั้งกังหันลมสูบน้ำได้ 21 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อใช้ในแปลงพื้นที่ป่าบกและพื้นที่ทำการ เกษตร และได้จัดทำโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมขนาด เล็ก โดยทำการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าความเร็วลมต่ำ ขนาด 1 กิโลวัตต์ (1,000 วัตต์) จำนวน 3 ชุด แบบระบบทุ่งกังหันลม (Mini Wind Farm System) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ความเข้าใจในการเลือก ใช้พลังงานสะอาด และสามารถขยายผลต่อยอดการใช้พลังงานลม เป็นพลังงานทางเลือกได้ในอนาคต 5. Learning Center for Coastal Erosion Protection At the coastal area of SIEP, there are several structures constructed to prevent the beach erosion. Breakwaters and groins in front of the Park are for beach erosion prevention. Jetties at the mouth of the canals are constructed for allowing seawater flowing into and out of the mangrove area. This will help in balancing the mangrove ecosystem and also in breeding of aquatic species. Moreover, it can be a shelter for local fishing boats. 6. Learning Center for Renewable Energy Solar energy - In SIEP, there are two sets of solar cells installations. The first photovoltaic power generation of 28.86 kilowatts-hour has been installed at the parking lots of the Energy for Environment Centre building. The other set of 16.095 kilowatts-hour has been installed at Energy and Environmental Conservation Camp. The generated electricity is some part supplied into the grid and some is independently used in the Park area in lighting the parking area and the walkways in the night time. A solar water pumping system is also installed for watering the forest area. Wind Energy - The Park has utilized wind energy for agricultural purposes. The wind turbine of 21 cubic meters per day pumping capacity has been installed. The pumped water is used in terrestrial forest and agricultural areas. The project demonstration of electricity generation from a small wind turbine is organized by installing 3 wind turbines of 1 kilowatt-hour each, representing as a mini wind farm system. This project wants to promote learning and understanding in clean energy usage and spending wind power as alternative energy in the near future. 27
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above