Page 49

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์

มีอยู่อย่างมีเหตุผล พอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน โดยมุ่งหวังให้พสกนิกร สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะด้านการ พัฒนาพลังงานทดแทนและการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยใช้ วัตถุดิบในภาคการเกษตร ซึ่งมีอยู่มากมายในประเทศ นอกจากนี้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และศูนย์ศึกษาตามแนว พระราชดำริที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ก็มีโครงการพัฒนาพลังงาน ตัวอย่างให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ในการนำ พลังงานทดแทนเหล่านี้มาใช้ในชุมชนอย่างเหมาะสม เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานลม ก๊าซโซฮอล์ และไบโอดีเซล เป็นต้น เพื่อวางรากฐานการบริหารจัดการพลังงานแบบยั่งยืนและ สอดคล้องตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงพลังงานได้ ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ 6 ด้าน ดังนี้ 1. จัดหาพลังงาน กำหนดมาตรการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและจัดหาพลังงาน ของประเทศที่ทำให้เกิดความมั่นคง มีใช้อย่างพอเพียงและทั่วถึง มี การวางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานด้วยการมีแผน สำรองพลังงานในระยะยาว นั่นหมายความว่า รัฐควรใช้หลักสมดุล ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากำหนดนโยบายการจัดหาพลังงาน และปรับสัดส่วนการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ดังนี้ 1.1 เร่งรัดและส่งเสริมการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิง พลังงาน ทั้งในประเทศและเขตพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงส่งเสริมภาคเอกชนในการลงทุนด้านพลังงานในประเทศและ ต่างประเทศ เพื่อสร้างเสถียรภาพด้านการจัดหาและการกระจาย แหล่งพลังงานของประเทศ 1.2 ปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับ ภาวะเศรษฐกิจที่แท้จริงเพื่อให้มีการลงทุนที่เหมาะสม ให้มีการ กระจายแหล่งและชนิดเชื้อเพลิง มีต้นทุนต่ำและมีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมน้อย รวมทั้งเร่งดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน โดยส่งเสริมพลังงานจากฟอสซิลรูปแบบอื่น เช่น ถ่านหินสะอาด หรือ พลังงานนิวเคลียร์ เพื่อผลิตไฟฟ้าฐานทดแทนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิต จากก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้น วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park The Philosophy of “Sufficiency Economy” has been applied by the Ministry of Energy to serve as guidelines for energy development on natural resources with an emphasis on the moderate, reasonable, and self-immune consumption of energy. His Majesty King Bhumibol Adulyadej graciously intends that Thai people become sustainably self-reliant in the future especially through the development of alternative energy and biofuel of which the production relies on agricultural materials generally found in the country. Furthermore, His Majesty’s private projects at Chitralada Palace and the Royal Development Study Centers (RDSCs) located in various regions present samples of energy development in which local people can suitably explore alternative energy for use in their own community e.g. solar energy, wind energy, gasohol, and biodiesel etc. To form the basis of sustainable energy management and administration according to the Philosophy of Sufficiency Economy, six action plans have been operated by Ministry of Energy. 1. Energy Supply To devise measures forming nation’s energy development and supply sufficiently and thoroughly, the strategic plan is determined from programming energy security with long-term energy plan. It means that the government should apply the balancing principles of the Philosophy of Sufficiency Economy for determination of energy supply and adjustment of imported energy proportion from foreign countries with following actions. 1.1 Expedite and enhance survey and development of fuel sources both inland and overlapping area with neighboring countries as well as encourage the private sector in domestic and foreign investments to reinforce the nation’s energy supply and distribution. 1.2 Improve power generation development plan according to the realistic economic conditions in order to การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ภายในองค์กรและจำหน่าย ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร The Production of electricity using solar cell to use in the organization and sell out. 49


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above