2 อยู่เย็น เป็นสุข ความอยู่สบายของคนเรา ส่วนใหญ่แล้วมักขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศ เป็นสำคัญ ในวันที่อากาศดี ลมพัดเย็นสบาย เราจะรู้สึกสุขสบายกว่าวันที่อากาศร้อน อบอ้าว หรือหนาวมากเกินไป ดังนั้นสภาพอากาศจึงเป็นตัวแปรสำคัญของความอยู่สบาย ของคนเรา จากการศึกษาเรื่องความรู้สึกสบายของคนเราพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ ความอยู่สบายของคนเรามีอยู่ด้วยกัน 6 ตัวแปรดังนี้ • อุณหภูมิอากาศ • ความชื้นสัมพัทธ์ • อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโดยรอบ • ความเร็วลม • เสื้อผ้าที่เราสวมใส่ • อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และเรียกสภาวะที่คนเราไม่รู้สึกร้อนหรือหนาวว่า “สภาวะน่าสบาย” โดย กำหนดช่วงหรือขอบเขตของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกสบายของคนเราไว้เป็น มาตรฐานเรียกว่า “เขตสบาย” หรือ “Comfort Zone” ซึ่งมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส ในอดีตสมัยที่สภาพแวดล้อมและธรรมชาติยังสมบูรณ์ คุณภาพชีวิตของคนไทย เรานับว่ายัง “สุขสบายอยู่มาก” ทั้งนี้ก็ด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราที่สามารถปรับ ตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ โดยเฉพาะภูมิปัญญาในด้านการออกแบบบ้านพักอาศัยที่ สามารถตอบสนองความอยู่สบายของเราได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ อยู่สบายในหน้าร้อน และอบอุ่นในหน้าหนาว ทั้งนี้ก็เพราะช่างไทยโบราณยึดเอาธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการ ออกแบบและอาศัยหลักการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม อาทิ • การปลูกอาคารเป็นเรือนกลุ่ม เชื่อมต่อด้วยชาน เพื่อให้ลมพัดผ่านได้ทุกๆ ส่วน ของบ้าน • การมีหลังคาสูงเพื่อระบายน้ำฝนและป้องกันการรั่วซึม รวมทั้งการมีชายคายื่น ยาวเพื่อป้องกันไม่แสงแดดส่องถึงตัวบ้านโดยตรง • การยกพื้นใต้ถุนสูง ซึ่งมีข้อดี คือ อยู่เย็นสบายในเวลากลางวันอันเนื่องมาจาก ความเย็นของพื้นดิน และกระแสลมที่พัดผ่านใต้ถุนบ้าน • ตัวบ้านใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและสะสมความร้อนน้อย
การประหยัดพลังงานภายในบ้าน "อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธร
To see the actual publication please follow the link above