Page 1

แผ่นพับกระถางสูตร2

กระถางชีวภาพจากผักตบชวาและวัสดุธรรมชาติ ถุงเพาะช าและกระถางพลาสติกเป็นสิ่งที่สร้างต้นทุนเพิ่ม ให้แก่เกษตรกรและผู้เพาะกล้าไม้เพื่อจ าหน่ายหรือเพาะปลูก ในพื้นที่ของตนเอง อีกทั้งไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะไม่ สามารถย่อยสลายในธรรมชาติ ในปัจจุบันจึงมีผู้น าวัสดุ ธรรมชาติชนิดต่างๆ มาท ากระถางชีวภาพส าหรับเพาะกล้าไม้ เช่น ผักตบชวา ขุยมะพร้าว เปลือกผลไม้ เศษใบไม้ เป็นต้น โดยผสมกับวัสดุบ ารุงดิน เช่น ปุ๋ยไส้เดือน และผสานวัสดุที่ ผสมรวมกันด้วยกาวแป้งเปียก อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เป็นแหล่งเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน การย้อมผ้าสีธรรมชาติจากใบไม้ รวมทั้งมีการเพาะกล้าไม้ เพื่อปลูกซ่อมและปลูกเสริมในพื้นที่ปลูกต้นไม้ของอุทยานฯ วัสดุอุปกรณ์ 1. ผักตบชวา 2. ดินผสมพร้อมปลูก ประกอบด้วย ดิน+ปุ๋ยหมักใบไม้ +ขุยมะพร้าว 3. กาวแป้งเปียก 4. สารกันบูด หรือยาฆ่าเชื้อรา 5. กระถางพลาสติกเก่าท าเป็นบล็อก ใบใหญ่ (ผ่าออก) 1 ใบ และใบเล็ก 1 ใบ 6. ครก หรือเครื่องปั่น 7. เตาและหม้อกวนแป้งเปียก 8. ชามหรือกะละมังผสม 9. เครื่องชั่งน้ าหนัก 10. ตะเกียบไม้ อัตราส่วน ผักตบ : ดินผสมพร้อมปลูก (ดิน+ปุ๋ยหมักใบไม้+ขุยมะพร้าว) : แป้งเปียก อัตราส่วน 2 : 3 : 1 วิธีท ากระถางชีวภาพ 1. เก็บผักตบชวาจากอ่างเก็บน้ าและแหล่งน้ าในท้องถิ่น หลังจากนั้นตัดเหง้าและใบของผักตบชวาทิ้ง ใช้เฉพาะ ส่วนล าต้น เนื่องจากบริเวณล าต้นของผักตบชวามีเส้นใย ธรรมชาติซึ่งมีคุณสมบัติเรื่องการดูดซับความชื้นได้ดี และ มีความเหนียว ทนทานต่อการใช้งาน 2...น าล าต้นผักตบชวามาล้างท าความสะอาด ขจัดสิ่ง สกปรก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อให้สะเด็ดน้ า 3. ตัดล าต้นผักตบชวาเป็นชิ้นเล็กๆพอประมาณ ต าให้ ละเอียดใช้เวลาประมาณ 10 นาที หรือน าไปปั่นให้ ละเอียดใช้เวลาประมาณ 5 นาที โดยการน าล าต้น ผักตบชวาไปปั่นจะให้เส้นใยผักตบชวาที่สั้นกว่าการต า 4. ท ากาวแป้งเปียกโดยการน าแป้งมันไปละลายกับน้ า เมื่อละลายหมดแล้วให้น าไปตั้งไฟใช้ความแรงของไฟปาน กลาง คนไปทางเดียวกันเพื่อป้องกันการไหม้ของแป้ง จนกว่าแป้งจะจับตัวเหนียวเติมสารกันบูด หรือยาฆ่าเชื้อ ราลงในกาวแป้งเปียก


แผ่นพับกระถางสูตร2
To see the actual publication please follow the link above