Page 4

13 ตุลาคม

Lausanne) แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์ โดยเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตอย่าง กระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ในวันเดียวกันรัฐสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นทรงสืบราชสันตติวงศ์ จากนั้นทรงเสด็จพระราชด าเนินไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่เปลี่ยนสาขา เรียนจาก วิทยาศาสตร์ ไปเป็นสาขาสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในช่วงเวลานั้นพระองค์ยังทรงพระเยาว์และเสด็จพระราชด าเนินศึกษาต่อ คณะผู้ส าเร็จราชการแทน พระองค์ชั่วคราวในครั้งแรก ซึ่งได้แก่ พระสุธรรมวินิจฉัย (ชม วณิกเกียรติ) , พระยานลราชสุวัจน์ (ทองดี นลราชสุวัจน์) และสงวน จูฑะเตมีย์ สมาชิกพฤฒสภา ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุน ชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร ณ สงขลา) พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเล่าว่า ระหว่างประทับรถ พระที่นั่งเสด็จพระราชด าเนินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เพื่อทรงศึกษาเพิ่มเติมที่สวิตเซอร์แลนด์ ก็ ทรงได้ยินเสียงราษฎรคนหนึ่งตะโกนว่า "ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" จึงทรงนึกตอบในพระราชหฤทัยว่า "ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนักในหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ ดังที่ ได้ตรัสตอบชาย คนเดิมนั้นในอีก 20 ปีต่อมา หลังจากที่จบการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์เสด็จเยือนกรุงปารีส ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นธิดา ของเอกอัครราชทูตไทยประจ ากรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ในขณะนั้นทั้งสองพระองค์มีพระชนมายุ 21 พรรษาและ 15 พรรษาตามล าดับ ใน พ.ศ. 2490 พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาแสดงความพอพระราชหฤทัยในรัฐประหารในปีนั้น ซึ่งเป็น รัฐประหารของฝ่ายกษัตริย์นิยม


13 ตุลาคม
To see the actual publication please follow the link above