87 ผลการศึกษาวิจัยและวิจารณ์ การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของไผ่ชนิดต่าง ๆ การศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม โดยเครื่องหมายเอเอฟแอลพีพบ ไพรเมอร์ที่เหมาะสมจำนวน 14 คู่ ให้แถบดีเอ็นเอจำนวนทั้งหมด 642 แถบ จำนวนแถบดีเอ็นเอเฉลี่ยต่อคู่ ไพรเมอร์ มีค่าเท่ากับ 45.86 แถบ เมื่อคิดเป็นสัดส่วนค่าโพลีมอร์ฟิซึมที่เกิดขึ้นมีค่าสูงถึง 93.13 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่ากลุ่มไผ่ที่ทำการศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูงรูปแบบลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่ได้จาก ไพรเมอร์ 14 คู่ มีรูปแบบที่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์หาจำนวนแถบดีเอ็นเอจำเพาะที่ปรากฏในแต่ละคู่ ไพรเมอร์ของไผ่แต่ละชนิดจากทั้งหมด 26 ชนิด โดยพบว่าคู่ไพรเมอร์ที่ปรากฎแถบดีเอ็นเอจำเพาะมากที่สุด ได้แก่คู่ไพรเมอร์ E-AAC/M-CAA, E-ACC/M-CTTและ E-AGC/M-CTC ดังแสดงในภาพที่ 8.1 ซึ่งให้จำนวน แถบดีเอ็นเอจำเพาะจำนวน 4 แถบ และไผ่ที่ปรากฏแถบดีเอ็นเอจำเพาะมีจำนวน 18 ชนิด และไม่ปรากฏ 8 ชนิด โดยชนิดไผ่ที่ให้แถบดีเอ็นเอจำเพาะมากที่สุด คือไผ่ไร่ (Gigantochloa albociliata) พบจำนวน 4 แถบ ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาช่วยสนับสนุนการจัดจำแนกชนิดพันธุ์ไผ่ได้ในอนาคต การศึกษาความสัมพันธ์ ทางพันธุกรรมโดยวิธี UPGMA แสดงผลในรูปแบบของ Phylogenetic tree พบว่า สามารถแบ่งกลุ่มของไผ่ ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมที่ปรากฏดังแสดงในภาพที่ 8.2 อย่างไรก็ตามในการศึกษา แถบดีเอ็นเอจำเพาะต่อชนิดพันธุ์สำหรับไผ่แต่ละชนิดนั้นจะต้องมีการศึกษาและทดลอง โดยใช้ตัวอย่างต่อ ชนิดพันธุ์ไผ่ในจำนวนที่มากขึ้น ซึ่งตัวอย่างที่นำมาศึกษาจะต้องมาจากแหล่งกระจายพันธุ์หลายๆ แหล่ง แล้ว นำแถบดีเอ็นเอจำเพาะนั้นมาหาลำดับเบสเพื่อพัฒนาแถบดีเอ็นเอ ที่จำเพาะที่สัมพันธ์กับชนิดพันธุ์ไผ่แต่ละ ชนิดและมีประสิทธิภาพต่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง และในการศึกษาความใกล้ชิดทางพันธุกรรมที่มี ประสิทธิภาพนั้นควรมีการศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์ควบคู่กันไป (รังสัน และ สุจิตรา, 2548)
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above