Page 109

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

89 ความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรไผ่ป่า การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรไผ่ป่า 9 ประชากร โดยเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ 9 ตำแหน่ง รังสัน และ สุจิตรา (2548) พบว่ามีจำนวนอัลลีลทั้งหมด 55 รูปแบบ ดังแสดงในตัวอย่างบางส่วนใน ภาพที่ 8.3 จำนวนอัลลีลเฉลี่ยต่อตำแหน่งเท่ากับ 6.11 โดยประชากรไผ่ป่าจังหวัดสระแก้ว กาญจนบุรี1 (อ.บ่อพลอย) และ สุราษฎร์ธานี มีค่าเฮเทอโรไซโกซิตีจากการสังเกตมากที่สุด (0.333 , 0.332 และ 0.318 ตามลำดับ) และ ประชากรจังหวัดกาญจนบุรี 3 (อ. ทองผาภูมิ) มีค่าเฮเทอโรไซโกซิตีจากการสังเกตต่ำที่สุด (0.263) ค่าเฉลี่ยทุก ประชากรมีค่าเท่ากับ 0.294 ส่วนค่าเฮเทอโรไซโกซิตีจากค่าคาดหมาย ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความหลากหลายทาง พันธุกรรมพบว่าประชากรไผ่ป่าจังหวัดสระแก้วมีค่าเฮเทอโรไซโกซิตีจากค่าคาดหมายมากที่สุด (0.440) และประชากร ไผ่ป่าจังหวัดกาญจนบุรี 3 (อ.ทองผาภูมิ) มีค่าเฮเทอโรไซโกซิตีจากค่าคาดหมายต่ำที่สุด (0.314) ค่าเฉลี่ยทุก ประชากรมีค่าเท่ากับ 0.369 โดยประชากรส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่มีความถี่จีโนไทป์อยู่ในสมดุลฮาร์ดี-ไวน์เบิร์ก และทุก ประชากรมีค่าเปอร์เซ็นต์โพลีมอร์ฟิกสูง (66.67 - 88.89 เปอร์เซ็นต์) โดยเฉลี่ยทุกประชากรเท่ากับ 76.54 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 8.4) แสดงให้เห็นว่าประชากรไผ่ป่าที่ศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรค่อนข้างสูง จากค่าระยะห่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากรไผ่ป่า 9 ประชากร เมื่อนำมาจัดกลุ่มความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมด้วย วิธี UPGMA (ภาพที่ 8.4) พบว่าประชากรของไผ่ป่าที่นำมาศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งผลการจัดกลุ่มที่ได้ มีบางประชากรที่ไม่สอดคล้องกับถิ่นกำเนิดและสภาพภูมิศาสตร์ ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมภายในประชากร (Fis) ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรทั้งหมด (Fit) และค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร (Fst) ของไผ่ป่าเฉลี่ยทุกตำแหน่งมีค่าเท่ากับ 0.2060 0.4007 และ 0.2432 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาค่าความแตกต่าง ทางพันธุกรรมระหว่างประชากร (Fst) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.2432 แสดงให้เห็นว่าประชากรแต่ละแหล่งมีความแตกต่างทาง พันธุกรรมค่อนข้างสูง ภาพที่ 8.3 รูปแบบอัลลีลของประชากรไผ่ป่า (Bambusa bambos) จังหวัดเชียงใหม่จากเครื่องหมาย ไมโครแซทเทลไลท์ที่ตำแหน่ง DTLBb 47 (ที่มา: รังสัน และ สุจิตรา, 2548)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above