Page 131

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

111 6 (H6) พบในจังหวัดบุรีรัมย์และมหาสารคาม รูปแบบดีเอ็นเอที่7 (H7) พบในจังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบดีเอ็นเอ ที่ 8 (H8) พบในจังหวัดมหาสารคาม รูปแบบดีเอ็นเอที่ 9 (H9) พบในจังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบดีเอ็นเอที่ 10 (H10) พบในจังหวัดมหาสารคาม รูปแบบดีเอ็นเอที่ 11 (H11) พบในจังหวัดชัยภูมิ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 12 (H12) พบในจังหวัดบุรีรัมย์ และรูปแบบดีเอ็นเอที่13 (H13) พบในจังหวัดอุบลราชธานี จากข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ทราบได้ว่ารูปแบบดีเอ็นเอในไม้พะยูง (D. cochinchinensis) โดยเครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีรูปแบบ ดีเอ็นเอจำเพาะกับจังหวัดและไม่พบในจังหวัดอื่นดังนี้ 1. ในจังหวัดสระบุรีคือ มีรูปแบบดีเอ็นเอที่ 3 (H3) และ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 5 (H5) 2. ในจังหวัดมหาสารคาม มีรูปแบบดีเอ็นเอที่ 8 (H8) และ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 10 (H10) 3. ในจังหวัดชัยภูมิ มีรูปแบบดีเอ็นเอที่ 11 (H11) 4. ในจังหวัดบุรีรัมย์ มีรูปแบบดีเอ็นเอที่ 12 (H12) และรูปแบบดีเอ็นเอที่ 7 (H7) 5. ในจังหวัดอุบลราชธานี มีรูปแบบดีเอ็นเอที่ 9 (H9) และ รูปแบบดีเอ็นเอที่ 13 (H13) นอกจากนี้ยังพบว่ามีรูปแบบดีเอ็นเอที่ 4 (H4) พบในภาคอีสานตอนบน ที่จังหวัดกำแพงเพชรและ จังหวัดตรังไม่ได้มาจากพะยูง (D. cochinchinensis) ในจังหวัดสระบุรีนั้น ไม้ป่าปลูกที่ปลูกในจังหวัด กำแพงเพชรมีรูปแบบของดีเอ็นเอ H9 ซึ่งเหมือนกับรูปแบบดีเอ็นเอของจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนป่าปลูกใน จังหวัดตรังนั้นมีรูปแบบดีเอ็นเอเหมือนกับจังหวัดบุรีรัมย์ มหามาสารคาม ขอนแก่นและบึงกาฬ แสดงดัง ตารางที่ 11.2 และ ภาพที่ 11.1 ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษารูปแบบดีเอ็นของประชากรเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ แม่นยำมากขึ้น (สุจิตรา และ คณะ 2562)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above