Page 140

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

120 จากการศึกษาครั้งนี้ สุจิตรา และคณะ (2564) ได้พบว่าไม้ชิงชันจากทั้ง 12 ประชากรมีความ หลากหลายทางพันธุกรรมสูง โดยมีค่าเฉลี่ย He = 0.77 โดยไม้ชิงชันจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ มีค่าความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด กล่าวคือ มีค่า He = 0.84 ในขณะที่ความ หลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ชิงชันจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จังหวัดศรีสะเกษ มีค่าต่ำกว่า แหล่งอื่นโดยมีค่า He = 0.71 รายละเอียดดังแสดงใน ตารางที่ 12.4 ถึงแม้จะมีค่าความหลากหลายทาง พันธุกรรมต่ำกว่าแหล่งอื่น แต่ถือว่ามีค่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากร ไม้ชิงชัน (He = 0.77) และมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้พะยูง (He = 0.63) (สุจิตรา และคณะ, 2561) ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมภายในประชากร (Fis) ค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากร ทั้งหมด (Fit) และค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างประชากร (Fst) ของไม้ชิงชันเฉลี่ยทุกตำแหน่งมีค่า เท่ากับ 0.10 0.23 และ 0.13 ตามลำดับ รายละเอียดแสดงในตารางที่ 12.5 เมื่อเปรียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ชิงชัน และไม้พะยูงในประเทศไทยที่ศึกษา พบว่าไม้ชิงชันมีพื้นที่ในการกระจายพันธ์ตามธรรมชาติในภูมิภาคต่างๆมากกว่าไม้พะยูง กล่าวคือ ไม้ชิงชันมี การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนในไม้พะยูงนั้นส่วนใหญ่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบาง จังหวัดในภาคกลาง เปรียบเทียบความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่าไม้พะยูงที่มีความหลากหลายทาง พันธุกรรมน้อยกว่า (สุจิตรา และคณะ, 2561) โดยจากการศึกษาความหลากหลายของไม้พะยูงในประเทศ ไทยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอชนิดไมโครแซทเทลไลท์ พบว่ามีค่าเฉลี่ย He = 0.63 นอกจากนี้เมื่อ เปรียบเทียบกับ Hartvig et al., 2017 ซึ่งศึกษาตัวอย่างไม้ชิงชันจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามพบว่ามีค่า He = 0.73 ซึ่งใกล้เคียง กับไม้ชิงชันในประเทศไทยที่ศึกษา (สุจิตรา และคณะ, 2564)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above