Page 188

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

168 บทที่ 17 การพิสูจน์ไม้โกงกาง (Rhizophora spp.) ว่าเป็นไม้โกงกางลูกผสมหรือไม่ โดยการใช้การถอดรหัสพันธุกรรมในนิวเคลียส และคลอโรพลาสต์ยีน คำนำ ไม้โกงกาง (Rhizophora spp.) มีอยู่ประมาณ 73 ชนิดและมีไม้โกงกางลูกผสมที่มีการกระจายพันธุ์ อยู่ทั่วโลก (Spalding et al., 2010) ประเทศไทยมีไม้โกงกางอยู่ 34 ชนิด (สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2555) ลูกผสมตาม ธรรมชาติในพืชเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ โดยมีการรายงานว่าต้นที่คาดว่าเป็นลูกผสมของสกุลไม้โกงกาง (Rhizophora) ลำแพน (Sonneratia) สกุลฝาด (Lumnitzera) สกุลพังกา (Bruguiera) (Tomlinson, 1986; Duke and Ge, 2011) ในการวินิจฉัยไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) ไม้โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) และไม้โกงกางสไตโลซา (Rhizophora stylosa) ในประเทศมาเลเซียนั้น Ng et al. (2013) และ Ng et al. (2015) ได้ใช้ single nucleotide polymorphisms (SNPs) จาก นิวเคลียสจีโนมศึกษา ด้วยอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร (อนส.) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้ขอความ อนุเคราะห์จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ผู้เขียนช่วยศึกษาวิเคราะห์ทางพันธุกรรม ไม้โกงกางที่คาดว่าเป็นไม้โกงกางลูกผสมระหว่างโกงกางใบเล็ก (R. apiculata) และโกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรว่าเป็นไม้โกงกาง ลูกผสมจริงหรือไม่ วัสดุและวิธีการศึกษาวิจัย Changtragoon et al. (2016) ได้ทำการเก็บตัวอย่างโกงกางใบใหญ่เล็ก (Rhizophora apiculata) โกงกางใบใหญ่ (R. mucronata ) และโกงกางลูกผสม (ภาพที่ 17.1) มาสกัด DNA ด้วยชุดสกัด DNeasy Plant Kit (QIAGEN) แล้วนำดีเอ็นเอที่สกัดได้มาเพิ่มปริมาณยีนในส่วนของนิวเคลียส (Nucleus) 3 ยีน คือ DLDH ขนาด 1088 bp SBE2 ขนาด 709 bp และ FMRrm11 ขนาด 540 bp และยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ atpB-rbcL ขนาด 712 bp (ตารางที่ 17.1) แล้วจึงวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนที่ศึกษา จากหลักการ ของวิธี Chain termination method ใช้ชุด Big Dye Terminator v3.1 Cycle Sequencing Kit (Applied Biosystems, USA) โดยทำพีซีอาร์ซึ่งจะติดฉลากด้วยฟลูออเรสเซนต์ จากนั้นนำ PCR product ที่ได้ไปทำให้ บริสุทธิ์ และนำสารละลายที่ได้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ โดยใช้เครื่องวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ ABI PRISM® 3100-Avant Genetic Analyzer (Applied Biosystems, USA) แล้วจึงวิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above