Page 194

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

174 ผลการวินิจฉัยพันธุกรรม การศึกษาวิจัยตัวอย่างเนื้อไม้ 1 ตัวอย่าง (ตัวอย่างที่ 1) และขี้เลื่อยของกลางจำนวน 3 ตัวอย่าง (ตัวอย่างที่ 2 3 และ 4) ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ในตำแหน่งของดีเอ็นเอและยีน ส่วนของคลอโรพลาสต์ดีเอ็นเอ คือ Maturase K ยีน และ trnH-psbA spacer region ผลการศึกษาในการ หาลำดับนิวคลีโอไทด์ใน Maturase K ยีน พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้เพียงตัวอย่างที่ 3 และ 4 แล้ววิเคราะห์ผลลำดับนิวคลีโอไทด์โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างของลำดับนิวคลีโอไทด์ กับฐานข้อมูล DNA barcode ของไม้ป่าในประเทศไทยที่ได้ทำการศึกษามาก่อนหน้านี้ พบว่าตัวอย่างที่ 3 และ 4 เป็นไม้ ชนิดเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับไม้ในวงศ์ปอ (STERCULIACEAE) (ภาพที่ 18.1) ผลการศึกษาวิจัยในในการหาลำดับนิวคลีโอไทด์ใน trnH-psbA spacer region ของกลางทั้งหมด 4 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างที่ 1 และ 2 เป็นไม้ชนิดเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับ ไม้กฤษณา ส่วน ตัวอย่างที่ 3 และ 4 เป็นไม้ชนิดเดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับไม้ใน วงศ์ปอ (STERCULIACEAE) ดังนั้นจึงพบว่าตัวอย่างที่ 1 และ 2 เป็นไม้คนละชนิดกับตัวอย่างที่ 3 และ 4 (ภาพที่ 18.2) (สุจิตรา, 2560)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above