Page 218

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

198 ภาพที่ 23.3 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากการวิเคราะห์ไมโครแซทเทลไลท์ 12 ตำแหน่ง ของวัตถุพยานรายการที่ 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6, 2, 3 และ 4 ที่แสดงให้เห็นว่าวัตถุพยาน รายการที่ 1 และ 2 มีลักษณะทางพันธุกรรมไม่เหมือนกับวัตถุพยานรายการที่ 3 และ 4 สรุปผลการวินิจฉัยพันธุกรรม 1. การตรวจพิสูจน์วัตถุพยานรายการที่ 1, ที่ 2, ที่ 3 และ 4 ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดยการถอดรหัส พันธุกรรมยีนในส่วนของคลอโรพลาสต์จีโนม คือ rbcL พบว่าวัตถุพยานรายการที่ 1, ที่ 2, ที่ 3 และ 4 เป็น ไม้พะยูง (D. cochinchinensis) และวัตถุพยานรายการที่ 1 และ 2 โดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์มี ลักษณะทางพันธุกรรมไม่เหมือนกับวัตถุพยานรายการที่ 3 และ 4 2. แสดงให้เห็นว่าไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่ถูกลักลอบล้อมต้นในที่เกิดเหตุมีลักษณะ พันธุกรรมไม่ตรงกับต้นไม้พะยูง (D. cochinchinensis) ที่คาดว่านำไปปลูกที่พื้นที่หนึ่ง 3. รายงานผลการวินิจฉัยทางพันธุกรรมได้จัดส่งอย่างเป็นทางการจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชไปยัง หน่วยงานที่ร้องขอความให้ตรวจวิเคราะห์ลักษณะพันธุกรรมของไม้พะยูงดังกล่าวเพื่อ ทราบและดำเนินการต่อไป


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above