Page 233

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

213 ผลการศึกษา DNA fingerprinting จากการศึกษาโดยวิธี ไมโครแซทเทลไลท์ มาร์คเกอร์ เพื่อศึกษา DNA fingerprinting ของชิ้นเนื้อเสือ 17 ชิ้น ดังภาพที่ 25.3 และนำมาวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรม ( genotypes) ด้วยวิธีการไมโครแซทเทลไลท์ มาร์คเกอร์ 9 ตำแหน่ง พบว่า ชิ้นเนื้อทั้ง 17 ชิ้น เมื่อนำมาวิเคราะห์ผลได้จำนวนเสือโคร่งทั้งหมด 9 ตัว โดย ตัวอย่างชิ้นเนื้อเสือที่ 2 และตัวอย่างชิ้นเนื้อเสือที่ 3 เป็นเสือโคร่งตัวเดียวกัน ตัวอย่างชิ้นเนื้อเสือที่ 7 และ ตัวอย่างชิ้นเนื้อเสือที่ 9 เป็นเสือโคร่งตัวเดียวกัน ตัวอย่างชิ้นเนื้อเสือที่ 10 ตัวอย่างเสือชิ้นเนื้อที่ 11 เป็นเสือ โคร่งตัวเดียวกัน ตัวอย่างชิ้นเนื้อเสือดาว 3 ตัวอย่าง เมื่อมาวิเคราะห์ได้จำนวนเสือดาว 3 ตัว และตัวอย่าง ชิ้นเนื้อเสือลายเมฆ 2 ตัวอย่าง เมื่อนำมาวิเคราะห์ได้เสือลายเมฆ 2 ตัว ดังตารางที่ 25.2 และภาพที่ 25.4 ภาพที่ 25.3 แสดงรูปจีโนไทป์ของดีเอ็นเอที่เกิดจากเครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ที่ตำแหน่ง FCA – 453 ของตัวอย่างเสือ 23 ตัวอย่าง แถวที่ 1 – 12 คือ เสือโคร่ง แถวที่ 13 – 15 คือ เสือดาว แถวที่ 16 – 17 คือ เสือลายเมฆ แถวที่ 18 – 19 คือ เสือโคร่ง แถวที่ 21 – 23 คือ เสือดาว แถวที่ 20 คือ ตัวอย่างที่ไม่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ แถว M คือ แถบดีเอ็นเอมาตรฐานขนาด 50 ladder (ที่มา: สุจิตรา และพิษณุกร)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above