53 อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้นับว่าได้ข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของไม้สักในระดับหนึ่ง และเป็นที่น่า สังเกตว่าไม้สักที่อยู่ทางเหนือสุด เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงราย มีเปอร์เซ็นต์ของ Polymorphic loci ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งไม้สักในท้องที่จังหวัดที่ระดับความสูงทาง ภูมิศาสตร์ต่ำ ซึ่งจะต้องรอข้อมูลการศึกษาในระดับ DNA ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ ซึ่งจะกล่าวถึงใน หัวข้อถัดไป ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการวางแผนการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้สักของประเทศไทยได้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้ Changtragoon and Szmidt (1999) และ Changtragoon (2005) ได้ ศึกษาอัตราการผสมข้ามในสักพบว่าอัตราการผสมข้ามของไม้สักอยู่ระหว่าง 0.87 - 0.99 ดังแสดงในตาราง ที่ 5.1.7 ซึ่งแตกต่างตามแหล่ง (ประชากร) แม้ว่าจะมีอัตราการผสมข้ามค่อนข้างสูงแต่ก็มีพบว่าบางต้นอัตรา การผสมตัวเองสูงเช่นกัน (Changtragoon and Szmidt, 1999) ตารางที่ 5.1.6 Matrix of Nei (1978) unbiased genetic distance coefficients ที่ตำแหน่งไอโซเอนไซม์ยีน ประชากร (Population) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 1. อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ***** 2. อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 0.009 ***** 3. หมู่บ้านบ้านใหม่ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง 0.000 0.008 ***** 4. อช.ถ้ำผาไทย จ.ลำปาง 0.000 0.011 0.000 ***** 5. ดอยประตูผา จ.ลำปาง 0.096 0.107 0.094 0.095 ***** 6. อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 0.034 0.027 0.034 0.037 0.055 ***** 7. หมู่บ้านแก่ง ปะลอม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 0.002 0.013 0.002 0.001 0.099 0.031 ***** 8. หมู่บ้านวังน้ำวน อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 0.010 0.021 0.010 0.010 0.104 0.027 0.004 ***** 9. สวนรุกขชาติ โป่งสลี จ.เชียงราย 0.015 0.012 0.014 0.016 0.116 0.028 0.013 0.015 ***** 10. ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ 0.007 0.006 0.007 0.009 0.098 0.022 0.006 0.007 0.009 ***** 11. อ.ทองภาภูมิ จ.กาญจนบุรี 0.000 0.009 0.000 0.000 0.092 0.033 0.002 0.010 0.015 0.007 ***** ที่มา: Changtragoon and Szmidt, 1999
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above