Page 82

การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน

62 ผลการทดลองและวิจารณ์ จากการศึกษาครั้งนี้สุจิตรา และบุญชุบ (2542) พบว่าสามารถวินิจฉัย Isoenzyme gene ได้ 8 ตำแหน่ง และหาความถี่ของยีนแต่ละตำแหน่งจากไม้ยางนาทั้ง 4 แหล่ง โดยแสดงในตารางที่ 6.1.3 ส่วนความหลากหลายทางพันธุกรรมพบว่าไม้ยางนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีจำนวนของ Alleles ต่อ ตำแหน่งของ Gene สูงที่สุด คือมี 3.3 Alleles ส่วนไม้ยางนาที่จังหวัดตรังมีจำนวน Alleles ต่อตำแหน่ง ของ Gene ต่ำที่สุดคือมี 2.1 Alleles ส่วนค่า Percentage of polymorphic loci จาก Isoenzyme gene 8 ตำแหน่ง มีค่าสูงสุดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์คือมีค่า 100 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าต่ำสุดที่จังหวัดตรัง คือมีค่า 62.5 เปอร์เซ็นต์ ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 6.1.4 สำหรับค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง Genetic differentiation among populations (Fst) ของไม้ยางนาทั้ง 4 แหล่ง พบว่ามีค่า 0.182 หรือ ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแหล่ง (Genetic distance) โดยการ เปรียบเทียบแหล่ง แต่ละแหล่งได้แสดงในตารางที่ 6.1.5 และภาพที่ 6.1.1 ซึ่งพบว่าความแตกต่างทาง พันธุกรรมของไม้ยางนาในจังหวัดตรังจากจังหวัดอื่นมีมาก ในขณะที่ความแตกต่างทางพันธุกรรมของจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดกำแพงเพชรมีไม่มากนัก การที่ความหลากหลายทางพันธุกรรมของไม้ยางนาที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีมากที่สุดรองลงมา คือจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตรังมีน้อยลงมาตามลำดับ อาจเนื่องมาจากไม้ยางนา ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษเป็นป่าธรรมชาติ จึงมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงกว่า ป่าในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นป่าปลูก ผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นเป็นเบื้องต้นว่า การรักษาสภาพป่าไม้ยางนาให้คงอยู่ตามธรรมชาติในลักษณะ In situ gene conservation จะเป็นการช่วย รักษาความหลากหลายทาง พันธุกรรมเอาไว้ หากจะนำมาปลูกเพื่อการอนุรักษ์พันธุกรรมและการปรับปรุง พันธุ์จะต้องมีการจัดการในการเก็บเมล็ดไม้ที่นำมาปลูกให้คงความหลากหลายทางพันธุกรรมให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้นับว่ายังเป็นการศึกษาเบื้องต้น ในอนาคตควรที่จะมีการศึกษาความ หลากหลายทางพันธุกรรมไม้ยางนาให้ทั่วประเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลที่จะวางแผนการอนุรักษ์แหล่ง พันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์ไม้ยางนาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อไป ดังที่ได้มีการศึกษามาแล้ว ใ น ไ ม้ส น ส อ ง ใ บ (Changtragoon and Finkeldey, 1995a; Changtragoon and Finkeldey, 1995b; (Changtragoon and Finkeldey, 2000; Szmidt et al., 1996a) และกำลังจะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการ จัดการอนุรักษ์พันธุกรรมของไม้ดังกล่าว (สุจิตราและบุญชุบ, 2542)


การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีน
To see the actual publication please follow the link above