Page 4

จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue4

จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม 4 มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) โลกของเรามีชั้นของบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โดยรอบหนาประมาณ 15 กิโลเมตร ชั้นของ บรรยากาศดังกล่าวนี้ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน ฝุ่นละออง ไอน��้ำ และเชื้อ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ในจ��ำนวนก๊าซเหล่านี้ ก๊าซที่ส��ำคัญที่สุดต่อการด��ำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในโลก คือ ก๊าซออกซิเจน และชั้นของบรรยากาศที่มีก๊าซออกซิเจนเพียงพอต่อการด��ำรงชีวิตมีความ หนาเพียง 5 - 6 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งปกติจะมีส่วนประกอบของก๊าซต่าง ๆ ค่อนข้างคงที่ คือ ก๊าซไนโตรเจน 78.09% ก๊าซออกซิเจน 20.94% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเฉื่อย 0.97% ในปริมาณคงที่ของก๊าซดังกล่าวนี้เราถือว่าเป็นอากาศบริสุทธิ์ แต่เมื่อใดก็ตามที่ ส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไป มีปริมาณของฝุ่นละออง ก๊าซ กลิ่น หมอกควัน ไอ ไอน��้ำ เขม่า และกัมมันตภาพรังสีอยู่ในบรรยากาศมากเกินไป เราเรียกสภาวะดังกล่าวว่า  “อากาศเสีย” หรือ “มลพิษทางอากาศ” มลพษิทางอากาศ (Air Pollution) หมายถึง ภาวะของอากาศทีมี่สารมลพษิเจอืปนอยู่ ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติและเป็นระยะเวลาที่จะท��ำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของ มนุษย์ สัตว์ พืช และวัสดุต่างๆ สารมลพิษดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจาก การกระท��ำของมนุษย์ โดยอาจอยู่ในรูปของก๊าซ หยดของเหลว หรืออนุภาคของแข็งก็ได้ สารมลพิษทางอากาศที่ส��ำคัญและมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ได้แก่ ฝุ่นละออง สารตะกั่ว ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซโอโซน และสารอินทรีย์ระเหยง่าย เป็นต้น ประเภทของสารมลพิษทางอากาศ สารมลพิษทางอากาศ แบ่งได้ 2 ประเภท ตามลักษณะการเกิด คือ 1. สารมลพิษอากาศปฐมภูมิ (Primary Air Pollutants) เป็นสารมลพิษทางอากาศ ที่เกิดขึ้นและถูกระบายจากแหล่งก��ำเนิดโดยตรงสู่บรรยากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide) ก๊าซคารบ์อนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide) กา๊ซออกไซดข์องไนโตรเจน (Nitrogen oxide) สารไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds) ฝุ่นละออง ดินทราย แป้ง ละอองเกสร และเขม่าควันที่เกิดจากการ เผาไหม้เชื้อเพลิงในยานพาหนะและในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 2. สารมลพิษอากาศทุติยภูมิ (Secondary Air Pollutants) เป็นสารมลพิษทางอากาศ ที่ไม่ได้เกิดและถูกระบายออกจากแหล่งก��ำเนิดใดๆ แต่เกิดขึ้นในบรรยากาศจากปฏิกิริยาเคมี ระหว่างสารมลพิษอากาศปฐมภูมิกับสารประกอบอื่นๆ ที่อยู่ในบรรยากาศ เช่น ก๊าซโอโซน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และสารมลพิษทางอากาศที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic) เช่น ก๊าซ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และฝุ่นตะกั่ว เป็นต้น


จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue4
To see the actual publication please follow the link above