Page 5

จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue4

จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม แหล่งก��ำเนิดสารมลพิษทางอากาศ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. แหล่งก��ำเนิดตามธรรมชาติ (Natural Sources) ที่มา : 1. “รู้รอบทิศ มลพิษทางอากาศ บทเรียน แนวคิด และการจัดการ” ส��ำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กองอนามัยสิ่งแวดล้อม ส��ำนักอนามัย กรุงเทพฯ. 5 เป็นแหล่งก��ำเนิดที่ก่อให้เกิดสารมลพิษทางอากาศตามกระบวนการทางธรรมชาติ หรือ ไม่มีการกระท��ำหรือกิจกรรมของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟป่าตามธรรมชาติ การปล่อยก๊าซจากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์โดยจุลินทรีย์ เป็นต้น 2. แหล่งก��ำเนิดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (Man-Made Sources หรือ Anthropogenic Sources) เป็นแหล่งก��ำเนิดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ท��ำให้มีการระบายสารมลพิษทาง อากาศ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. แหล่งก��ำเนิดมลพิษทางอากาศที่อยู่กับที่ หรือ Point Sources ได้แก่ การปลดปล่อย มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial air pollution) ไอระเหยจากคลังน��้ำมันและสถานี บริการน��้ำมัน เป็นต้น 2. แหล่งก��ำเนิดมลพิษทางอากาศที่เคลื่อนที่ หรือ Mobile Sources ได้แก่ มลพิษจาก ยานพาหนะ (Automobile air pollution) ประเภทต่าง ๆ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก เรือ เครื่องบิน เป็นต้น 3. มลพิษทางอากาศที่ไม่มีแหล่งก��ำเนิดแน่นอน หรือ Non-point sources ได้แก่ การ เผาในที่โล่ง การลักลอบเผาป่า การเผาตอซังในนาข้าว การเผาขยะ ฝุ่นละอองจากพื้นดินที่ ถูกพัดพาโดยลม เป็นต้น จะเห็นได้ว่าปัญหามลพิษทางอากาศส่วนใหญ่เกิดจากการกระท��ำของมนุษย์ ดังนั้น เราต้องช่วยกันดูแลรักษาคุณภาพอากาศเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในการด��ำรงชีวิต เพราะมลพิษทางอากาศยังคงเป็นปัญหาที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พื้นที่ อุตสาหกรรม และเขตเมืองต่างๆ ยังคงประสบอยู่ แม้ว่าปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศจะ มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากมาตรการต่าง ๆ ที่ภาครัฐได้ด��ำเนินอย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมการ ระบายมลพิษจากแหล่งก��ำเนิดการควบคุมตรวจจับยานพาหนะที่มีมลพิษเกินมาตรฐาน การปรับปรุงพัฒนาคุณภาพรถยนต์ใหม่ การควบคุมกิจกรรมการก่อสร้างและขนส่งที่เป็น แหล่งก��ำเนิดของฝุ่น การปรับปรุงคุณภาพน��้ำมันเชื้อเพลิง การตรวจสภาพยานพาหนะ ประจ��ำปี การพิจารณาสนับสนุนการใช้รถที่มีมลพิษต��่ำ เป็นต้น แต่ปัจจัยส��ำคัญในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คือ “การ มีส่วนร่วมจากประชาชนและผู้ก่อมลพิษ” เนื่องจากการใช้ชีวิตประจ��ำวันในแต่ละวันก็อาจ จะมีส่วนในการท��ำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นจึง เป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายที่จะร่วมมือกันเพื่อรักษาคุณภาพอากาศให้สะอาดอย่างยั่งยืน ตลอดไป โดยการควรช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งไม่ยากเกินความสามารถของเราทุกคน


จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue4
To see the actual publication please follow the link above