จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม 3 2 เมษายน “วันรักการอ่าน” ... และพฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนไทย ปี 2556 กรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกจากสมาคมผู้จัดพิมพ์นานาชาติ (IPA) สหพันธ์ผู้จำหน่ายหนังสือนานาชาติ (IBF) สหพันธ์สมาคม และสถาบันห้องสมุดนานาชาติ (IFLA) และองค์การยูเนสโกให้เป็น “เมืองหนังสือโลก” แต่ในทางกลับกันพบว่าสถิติการอ่านของคนไทย ลดลงทุกปี และน้อยกว่าหลายประเทศในอาเซียน อย่างสิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งจากสถิติล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2554 พบว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละประมาณ 2-5 เล่ม ในขณะที่คนมาเลเซียอ่านหนังสือ ปีละ 40 เล่ม คนสิงคโปร์อ่านหนังสือกัน 40 - 50 เล่มต่อปี และคนเวียดนามอ่านหนังสือกันปีละ 60 เล่ม สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการอ่านหนังสือไม่ใช่พฤติกรรมซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยโดยทั่วไป เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนมักจะใช้เวลาไปกับการเล่นคอมพิวเตอร์และดูโทรทัศน์มากกว่าการอ่านหนังสือ รวมทั้งไม่ได้มีการ เสริมสร้างพฤติกรรมการอ่านอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การอ่านหนังสือมีความสำคัญต่อเราอย่างไร ? เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าหนังสือเป็นคลังความรู้และแหล่งภูมิปัญญาของมนุษยชาติ หนังสือให้ทั้งความรู้ ความคิด และ ความบันเทิง หนังสือบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองและในโลกให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ค้นคว้า ด้วยการถ่ายทอดตัวอักษรผ่านความ งดงามของศิลปะการประพันธ์ ซึ่งก่อให้เกิดผลงานวรรณกรรมอมตะมากมาย หนังสือสามารถจุดประกายความคิดให้กับผู้อ่าน นอกจากนี้การอ่าน ยังสามารถก่อให้เกิดจินตนาการไปตามชั้นเชิงในการนำเสนอของผู้เขียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในการชมโทรทัศน์ หรือเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ต ถ้าถามว่าจินตนาการมีความสำคัญเพียงไร ก็คงต้องย้อนไปดูคำกล่าวของไอน์สไตน์ที่ว่า “จินตนาการมีความสำคัญกว่าความรู้” (Imagination is more important than knowledge) ทั้งนี้เพราะความรู้เป็นสิ่งพื้นฐาน ซึ่งคนทั่วไปสามารถจะเรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน แต่จินตนาการคือการนำ ความรู้นั้นๆ ไปต่อยอดเพื่อให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นมา หนังสือจึงทำให้ผู้อ่านเกิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล และขยายมิติทางความคิดให้ หลากหลายขึ้น รวมทั้งรู้เท่าทันสถานการณ์ การอ่าน ไม่ใช่สักแต่ว่าอ่านหนังสืออะไรก็ได้ แต่ควรจะต้องเลือกอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อความรู้ ความคิด และจินตนาการ ซึ่งหาก ดูรายชื่อหนังสือที่คนมาเลเซีย คนสิงคโปร์ และคนเวียดนามอ่านแล้ว เชื่อได้ว่าในจำนวนนั้นจะต้องมีวรรณกรรมระดับโลก ซึ่งนิยมอ่านกันทั้งใน สหรัฐ และยุโรป รวมอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้งนี้ เพราะชาติเหล่านั้นตระหนักถึงเรื่องคุณค่าของหนังสือและการสร้างรสนิยมในการอ่าน ซึ่งอาจ จะยังเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยได้คิดถึงกัน ทั้งที่การอ่านนั้นมิใช่แค่อ่านออกหรืออ่านได้ แต่ต้องอ่านเป็นด้วยเพราะคุณภาพของคนในสังคมย่อมมา จากคุณภาพของหนังสือที่อ่าน และด้วยการตระหนักถึงการให้ความสำคัญของการอ่านนี้เองจึงส่งผลให้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2552 กำหนดให้ “การอ่าน” เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งกำหนดให้ปี 2552-2561 เป็น “ทศวรรษแห่งการอ่าน” และกำหนดให้วันที่ 2 เม.ย. ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “วันรักการอ่าน” เพื่อเป็นการปลูกฝัง นิสัยรักการอ่านของเด็กไทย และส่งเสริมให้คนไทยหันมาสนใจและรักการอ่านเพิ่มขึ้น เพราะประโยชน์ที่จะได้รับจากการอ่าน ก็คือ การได้รับความรู้และได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป จากผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกปลูกฝังการอ่านกับพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะมีพัฒนาการที่ดีในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ทักษะ ทางภาษา คณิตศาสตร์ ด้านอารมณ์ และคุณธรรม การสรรหาหนังสือ ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน แต่อยู่ที่ตัวของ คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเข้าให้ถึงความต้องการของเด็กๆ โดยต้องรู้ก่อนว่าเด็กในวัยนี้อยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้สรรหาสิ่งนั้นมา ให้อย่างถูกต้องและตรงตามพัฒนาการที่เขาพร้อมจะเรียนรู้อย่างเข้าใจด้วย เพราะเด็กในแต่ละวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน และสุดท้ายคุณพ่อ คุณแม่ต้องไม่กังวลว่าบ้านจะรกเต็มไปด้วยหนังสือเพราะการที่เด็กๆ เห็นหนังสือจนชินตา เขาก็จะรู้สึกคุ้นเคยและต้องการหยิบขึ้นมาอ่านเอง โดยที่ไม่ต้องบอกให้เขารักการอ่านเลย วันนี้ . . . อาจยังไม่สาย หากคุณพ่อคุณแม่ จะเริ่มปลูกฝังให้ลูกๆ ของท่านรักการอ่าน โดยเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการหาหนังสือซัก เล่มที่เหมาะสมกับวัย และพัฒนาการมาให้ลูกๆ ของท่านได้อ่าน และเรียนรู้ที่จะมีหนังสืออยู่รอบ ๆ ตัวของเขาเอง แหล่งข้อมูล : stks.or.th : http://www.tungsong.com : คมชัดลึกออนไลน์ คอลัมน์ เมือง(ของคนไม่อ่าน) หนังสือโลก : วันเว้นวัน จันทร์ พุธ ศุกร์ กับ ประภัสสร เสวิกุล
จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue5
To see the actual publication please follow the link above