จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร น้ำเสียที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรนั้น มักเกิดขึ้นจากการปล่อยน้ำทิ้งจาก โรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ โดยปราศจากการกำจัด ส่วนใหญ่เป็นน้ำเสียที่มีความเป็นกรด ด่างสูง มีปริมาณเกลืออนินทรีย์หรือสารเป็นพิษสูง ทำให้แหล่งน้ำมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของพืชและใช้เลี้ยงสัตว์ ด้านการประมง สารที่ปนเปื้อนในน้ำจะทำลายพืช และสัตว์น้ำเล็ก ๆ ที่เป็นอาหารของปลา และตัวอ่อน ทำให้ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ลดจำนวนลง เนื่องจากไม่สามารถดำรงชีวิตและแพร่ พันธุ์ได้ จนอาจก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการประมง ด้านเศรษฐกิจและสังคม น้ำเสียและน้ำทิ้งต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ตลาดสด ภัตตาคาร และอื่น ๆ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งกระทบกระเทือน ที่มา : สิ่งพิมพ์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมมลพิษ เรื่อง “คู่มือชุดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ” : หนังสือ “มลพิษสิ่งแวดล้อม (ปัญหาสังคมไทย)” 5 ทางด้านเศรษฐกิจ แหล่งกำเนิดของมลพิษทางน้ำที่สำคัญ แหล่งชุมชน น้ำเสียจากชุมชน เกิดจากการใช้น้ำในชีวิตประจำวันต่างๆของคนเรา ได้แก่ น้ำทิ้งที่มาจากห้องน้ำ การซักล้าง การชำระร่างกาย การขับถ่าย จากที่อยู่อาศัยทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย ร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน หรือตลาดสด เป็นต้น ทั้งนี้หาก มีการระบายน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำ แหล่งรองรับน้ำเสีย หรือแหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่ได้ ผ่านการบำบัด จะทำให้แหล่งน้ำมีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมและเน่าเสียในที่สุด โรงงานอุตสาหกรรม น้ำเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น น้ำหล่อเย็น น้ำล้าง น้ำเสียจากกระบวนการผลิต เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทางท่อน้ำทิ้ง ถ้าหากน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารปนเปื้อน หรือสารพิษไม่ได้รับการบำบัดก่อนปล่อย ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะก็จะทำให้แหล่งน้ำเน่าเสีย ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำน้อยลง ปริมาณเชื้อโรคเพิ่มขึ้น ทำให้เกิด น้ำเน่า มีกลิ่นเหม็น เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและผู้ใช้ การเกษตรกรรม เป็นน้ำเสียที่มาจากการทำการเกษตรกรรม การเพาะปลูก การล้างภาชนะบรรจุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ ฉีดพ่นสารเคมี การชะล้างหน้าดิน การเลี้ยงสัตว์ การระบายของเสียจากมูลสัตว์ลงแหล่งน้ำ เช่น ฟาร์มสุกร นากุ้ง บ่อเลี้ยงปลา การล้างคอกสัตว์ เป็นต้น ทำอย่างไร..ไม่ให้น้ำเสีย วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษทางน้ำมีหลายวิธี ซึ่งเราสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพ ที่ดีของแหล่งน้ำได้ • ควรนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ • ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ • บำบัดน้ำเสียขั้นต้นก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ • ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน • สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสียของแต่ละขั้นตอนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม • ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ในกิจกรรมทางการเกษตรหรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน • สร้างจิตสำนึกของประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำและประหยัดการใช้น้ำ โดยใช้ เท่าที่จำเป็น
จดหมายข่าวห้องสมุดพลังงานและสิ่งแวดล้อม Issue5
To see the actual publication please follow the link above