Page 32

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Issue1

และในอนาคตศูนย์พลังงานฯ แห่งนี้ต้องการเพิ่มจ��ำนวนประชาชน ที่จะเข้ามาเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเพิ่มพื้นที่ ของศูนย์พลังงานฯ ให้สามารถรองรับผู้มาเยือนได้มากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ศูนย์พลังงานฯ ประสบปัญหา คือ เรื่องแรกข้อจ��ำกัดด้านที่พักส��ำหรับ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถรองรับได้ประมาณ 212 คน ไม่สามารถ รองรับจ��ำนวนผู้ฝึกอบรมจ��ำนวนมากได้ เรื่องที่สองคือการกระจาย ข่าวสาร ได้พยายามหาแนวร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้ครอบคลุมกลุ่มประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น และ เมื่อเปิดประตูสู่ประชาคมอาเซียนในต้นปี 2558 อาจจะมีการฝึกอบรม ในเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ณ ศูนย์พลังงานฯ โดยใช้เทคโนโลยี ที่มีอยู่และผลิตขึ้นใช้เอง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชาวบ้านทั่วไป ตลอดทั้งประชาคมอาเซียนด้วย นอกจากนี้ สนพ. ยังได้ให้การสนับสนุนอุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร ในการพัฒนารูปแบบการสาธิตและปรับปรุง นิทรรศการสถานีพลังงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ ศูนย์พลังงานฯ แห่งนี้ ให้เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งแลกเปลี่ยน เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ตลอดจนเร่งบ่มเพาะให้ คนในชุมชนท้องถิ่น เป็นผู้นำ��ด้านการอนุรักษ์พลังงานและหันมาใช้ พลังงานทดแทนกันมากขึ้น โดยศูนย์พลังงานฯ ก��ำลังด��ำเนินการ ออกแบบและจัดสร้างชุมชนจíำลองที่จะใช้ระบบพลังงานหมุนเวียน ต้นแบบ “1 อ��ำเภอ 1 พลังงานชุมชน” ที่จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ ชุมชนสามารถน��ำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้น��ำไป ปฏิบัติใชไ้ดจ้รงิในชมุชนของตนเองตอ่ไป ซึ่งปัจจุบันศูนยพ์ลังงานฯ ก��ำลังแสวงหาความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อร่วมกันส่งเสริม และพัฒนากิจกรรมการเผยแพร่ของศูนย์พลังงานฯ อย่างต่อเนื่อง และให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ท่ามกลางกระแสสังคมที่มี ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และอัตราการบริโภคพลังงานที่เพิ่มสูง ขึ้นอย่างต่อเนื่องและน่าเป็นห่วง ในท้ายนี้ ท่าน ผอ. สุเทพ ได้กรุณาเล่าให้เราฟังถึงมุมมองของ ประเทศไทยในกลุ่มอาเซียนว่าประเทศไทยเราถือว่าเป็นประเทศผู้น��ำ ด้านการอนุรักษ์พลังงานในระดับโลกและระดับภูมิภาคเอเชีย โดย ประเทศไทยได้รับรางวัล Energy Award ที่มีรางวัลแยกเป็นแต่ละ ประเภททั้งหมดประมาณกว่า 30 รางวัล และประเทศไทยเรากวาด รางวัลนี้มามากกว่าครึ่งหนึ่งของรางวัลทั้งหมดติดต่อกันมาหลายปี ท��ำให้เห็นว่าประเทศไทยถือเป็นผู้น��ำทางด้านการใช้พลังงานทดแทน ในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีเทคโนโลยีด้านพลังงานและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก คนไทยทุกคนควรภูมิใจพระปรีชาสามารถขององค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และภูมิใจในภูมิปัญญาไทย เราคนไทยทุกคนจึงควร ร่วมกันหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคพลังงานให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสนองแนวพระราชดíำริพ่อหลวงของปวง ชนชาวไทย “พระบิดาแห่งการพัฒนาพลังงานไทย” ที่ทรงเป็นห่วง วิกฤติพลังงานและพร��่ำสอนลูกหลานชาวไทย จนเป็นที่ยอมรับของ นานาประเทศ จากรางวัล Energy Award ที่ประเทศไทยได้รับกว่า 15 รางวัล จากรางวัลทั้งหมด 30 รางวัล สมควรแล้วหรือยังที่เรา ลูกหลานชาวไทยจะได้ตระหนักและร่วมกันทุกภาคส่วน ทุกเพศทุกวัย ได้ร่วมกันสืบสานและรักษาไว้ให้ทรงคุณค่าของรางวัลดังกล่าว จะได้มีพลังงานให้ลูกหลานไทยได้มีพลังงานบริโภคสืบไป ให้สมดัง ฐานะเป็นลูกของพ่อหลวงแห่งแผ่นดินที่เป็นเจ้าของรางวัลต่างๆ ที่ประเทศไทยเราได้รับมานี้ ส��ำหรับประชาชน กลุ่มบุคคล ชุมชน สถานศึกษา และกลุ่ม องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ การอนุรักษ์พลังงานเพื่ออนาคตของเราและลูกหลาน และมีความ ประสงค์ที่จะเข้าเยี่ยมชมหรือเข้ารับการฝึกอบรมจากศูนย์พลังงาน เพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร สามารถ ประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 032-508-405-10, 032-508-352 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sirindhornpark.or.th 32 บทสัมภาษณ์พิเศษ / Exclusive Interview


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Issue1
To see the actual publication please follow the link above