Page 42

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Issue1

ส��ำหรับนโยบายด้านเชื้อเพลิง ทั้งเอ็นจีวี แอลพีจี และน้ำ��มันนั้น ดูเหมือนจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน คือการที่รัฐบาลต้องหาหนทาง ในการปรับโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากที่สุด แม้ว่ารัฐบาลมีความจ��ำเป็นต้องช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่ก็น่าจะ ยังคงมีนโยบายแทรกแซงราคา หรือการพยุงราคาค่าเชื้อเพลิงให้น้อย ที่สุด เพื่อไม่ให้โครงสร้างราคาเชื้อเพลิงบิดเบือน ประชาชนเห็นคุณค่า ของเชื้อเพลิง โดยมีการใช้อย่างประหยัดและไม่เป็นภาระต่อกองทุน น��้ำมันเชื้อเพลิงมากจนเกินไป แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องลดความ เดือดร้อนที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงค่าครองชีพ ต่างๆ ที่อาจจะสูงขึ้นตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิง ดังนั้น เพื่อลดภาระ ของกองทุนน้��ำมันเชื้อเพลิงและเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยท ี่ ตรงจุด นโยบายการตรึงราคาเชื้อเพลิงจึงควรถูกยกเลิก และเห็นควร ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นการเฉพาะกลุ่ม ในรูปของบัตรคูปองหรือ บัตรเครดิตพลังงาน เป็นต้น จะเห็นว่ากลไกด้านราคาของเชื้อเพลิง และนโยบายการบริหารจัดการพลังงานของประเทศไทยมีความสลับ ซับซ้อนอยู่พอสมควร การเปลี่ยนนโยบายอย่างหนึ่งย่อมไปกระทบอีก อย่างหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบโดยตรง อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่จะต้องก��ำหนด มาตรการที่เหมาะสมกับประเทศไทยให้มากที่สุด และควรส่งเสริมการ ให้ความรู้กับประชาชนว่าพลังงานที่เราใช้อยู่นั้นมีจ��ำกัด ทุกหน่วย พลังงานที่ท่านใช้ ประเทศจะต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง และต้องรู้จักค��ำ ว่าพอเพียง มิฉะนั้นประเทศเราก็มีโอกาสเผชิญกับวิกฤตพลังงาน อย่างที่เราเคยเผชิญมาแล้วหลายครั้งในอดีต การปรับตัวเพื่ออนาคต ประเทศไทยควรจะต้องด��ำเนินนโยบายกระจายแหล่งเชื้อเพลิงเพื่อ เพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานด้วยการลดการพึ่งพาน��้ำมัน และ ก๊าซธรรมชาติลงในสัดส่วนที่เหมาะสม และน��ำพลังงานชนิดอื่นๆ ที่มี ความมั่นคงไม่แพ้กันเข้ามาใช้ทดแทน เช่น การน��ำพลังงานนิวเคลียร์ และถ่านหินสะอาดมาทดแทนก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า โดยต้อง เข้าใจว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์และถ่านหินสะอาดในปัจจุบันได้ล��้ำหน้าไป มากแล้ว ปัญหาที่เกิดต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย รวมทั้งยังเป็นเทคโนโลยีเก่า แม้แต่ในปัจจุบันเองญี่ปุ่นก็ต้องหันกลับมา พึ่งพาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าอีกครั้ง หลังจากมีการหยุด เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงระบบไปพักใหญ่ ประโยชน์ที่เห็นได้อย่าง ชัดเจนคือ ก๊าซธรรมชาติที่เหลือจากการใช้นิวเคลียร์หรือถ่านหิน สะอาดทดแทนในการผลิตไฟฟ้าก็สามารถน��ำไปใช้ในยานยนต์หรือใน อุตสาหกรรมที่จ��ำเป็นได้มากขึ้นด้วย การขยายโครงข่ายท่อส่งก๊าซให้ มากขึ้น ผู้ใช้รถยนต์โดยเฉพาะรถบรรทุกและรถแท็กซี่ก็น่าจะหันมา ใช้เอ็นจีวีกันมากขึ้น ซึ่งเท่ากับการน��ำเอ็นจีวีไปทดแทนการใช้น��้ำมัน ท��ำให้การน��ำเข้าน��้ำมันน้อยลงได้ ที่ส��ำคัญก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในประเทศ ร้อยละ 80 ยังมาจากแหล่งขุดเจาะภายในประเทศ ดังนั้น เท่ากับ เป็นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น ในส่วนของพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากชีวมวล รวมไปถึง พลังงานจากขยะ ก็จ��ำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ In terms of fuel policy, including NGVs, LPG and gasoline, the government is aiming to align its policies such that the structure of fuel prices reflects investment costs as faithfully as possible. On the one hand, the government has an obligation to help those with low income by keeping fuel prices as low as possible; on the other hand, the government needs to educate the people concerning the real cost of different energy types and to encourage frugal use so that the oil fund is neither distorted too much nor placed under too much pressure. The government also needs to be aware of the increases in the cost of living associated with the indirect effects of fuel price increases. Consequently, in order to reduce these pressures, it has been decided to avoid price fixing and instead grant people in specific groups with energy coupons or energy credit cards. In truth, both the fuel price mechanism in Thailand and the energy administration policy are very complex. Change of policy will also have inevitably significant impacts on the policies of other departments. It is a direct responsibility of the Ministry of Energy and other Ministries, including the Ministry of Finance, Ministry of Commerce and Ministry of Industry to provide the most appropriate measures for Thailand. People should also be encouraged to know that the energy we are using is a limited resource. They should understand that every unit of energy that is consumed is from the country expense. A sense of sufficiency should be inculcated or else the country is likely to face yet another energy crisis. 42 พลังงาน / Energy


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Issue1
To see the actual publication please follow the link above