โดยมาตรการแรกที่รัฐบาลได้เริ่มเดินหน้าไปแล้วได้แก่การส่งเสริม ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยจัดทำแผนส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน โดยมีเป้าหมายในการลดสัดส่วนระหว่างการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายทั้งหมดต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ในปี พ.ศ. 2558 ลงให้ได้ร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 ซึ่ง ในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา สัดส่วนระหว่างการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้ายทั้งหมดต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ก็สามารถลดลงมาได้ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2548 แล้ว คงเหลือเวลาอีก 4 ปี ที่จะต้องลดให้ได้อีกร้อยละ 2.6 ซึ่งมาตรการ นี้มีความสำคัญอย่างมากและต้องทำอย่างต่อเนื่อง สำหรับนโยบาย ด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนนั้น รัฐบาลตั้งเป้าจะผลักดันให้มี การใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ของการใช้พลังงาน ทั้งหมด ภายในปี 2564 โดยจัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้ พลังงานทดแทน 15 ปี และมีนโยบายทั้งการผลิตพลังงานทดแทน เพื่อเปลี่ยนรูปเป็นไฟฟ้าโดยตรง เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน หรือ แม้แต่เปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ (เอทานอลและไบโอดีเซล) โดย ในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา การใช้พลังงานทดแทน เพิ่มขึ้นจากปี ก่อนหน้าถึงร้อยละ 19.4 โดยในปีที่ผ่านมาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.1 ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งก็ยังเหลือเวลาอีก 9 ปี ที่จะเร่ง ส่งเสริมให้ได้ตามเป้าหมายการผลิตพลังงานทดแทนที่ร้อยละ 25 ซึ่ง เป็นเป้าหมายที่ค่อนข้างสูงและท้าทาย แต่จะเป็นไปได้หรือไม่นั้นก็ คงต้องฝากไว้กับความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในการดำเนิน นโยบายด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนให้ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็น รูปธรรม แม้ว่าที่ผ่านมา กระทรวงพลังงานได้มีการเปลี่ยนแปลง นโยบายหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ พลังงานของไทยและของโลก เพื่อทำให้ธุรกิจด้านพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงานสามารถกำหนดทิศทางธุรกิจในการแข่งขันของ ตนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้กระทรวงพลังงานกำลังจะออก หลักเกณฑ์การให้เงินสนับสนุนเพื่อการรับซื้อไฟฟ้าซึ่งผลิตจาก พลังงานทดแทนที่เรียกว่า ฟีดอินทารีฟ (Feed in Tariff)1 แทน หลักเกณฑ์เดิมที่เรียกว่า แอดเดอร์ (Adder)2 หรือค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่ม จากค่าไฟฟ้าฐาน และใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุนโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและการส่งเสริมพลังงาน ทดแทนในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ของแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี และแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้ พลังงานทดแทน 15 ปี วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park seems to be high oil prices The country has to rely on more imported petroleum since domestic oil production is set to decline over the next few years. The first measure that the government has begun to implement is the reinforcement of energy use efficiency. This has been attempted through developing an energy conservation promotion plan with the aim of reducing the ratio of total final energy consumption per unit of Gross Domestic Product by 8% in 2015 compared to 2005. In 2011, the energy intensity was reduced by 5.4% compared to 2005. There is another four years that an additional reduction of 2.6% must be achieved. This measure is very important and must be carried out continually. The government has also established the policy of increasing renewable energy usage to 25% of the total consumption by 2021. This has required creating a 15-year plan for renewable energy development and promotion. This includes direct transformation of renewable energy production to electricity, to thermal energy and to biofuel (ethanol and biodiesel). In 2011, the amount of renewable energy used increased from the year before by 19.4%, representing 12.1% of total energy supply - there are another nine years to achieve the target of renewable energy production of 25% of total energy supply. It is a high and very challenging target. If this target is to be achieved, then every sector will need to cooperate to materially implement the renewable energy promotion policy, although in the past the Ministry of Energy has already changed the relevant policies a number of times so as to be more congruent with the energy situation in Thailand and the world as a whole. The purpose of these changes is to make clear direction for business companies-involved in renewable energy and energy conservation to compete effectively. In addition, the Ministry of Energy is about to announce new criteria for granting financial support for the purchase of renewable energy so-called “Feed-in-Tariff1” which will replace the previous criteria namely “Adder2” or additional cost from baseline cost, and use the Energy Conservation Promotion Fund to promote energy conservation to support the project on energy conservation and renewable energy promotion for at least 5,000 million baht annually to achieve the aims of the 20-year energy conservation plan and 15-year renewable energy use plan. 1ฟีดอินทารีฟ (Feed in Tariff) อัตรารับซื้อพลังงานไฟฟ้าคงที่ กำหนดขึ้นสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า 2แอดเดอร์ (Adder) ระบบรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ในลักษณะเป็นส่วนเพิ่มเติม อ้างอิงตามราคาค่าไฟฟ้าฐาน 1Feed in tariff: a stable rate of electrical power purchase set up for renewable electricity suppliers, varying according to the type of power plant 2Adder: a system of purchasing electricity from suppliers of renewable electricity in the form of an added portion based on the base tariff 41
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Issue1
To see the actual publication please follow the link above