Page 13

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park By Virtue of His Majesty: Revive the Forests; Return the Park to be a Source of Learning On August 14, 1994, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn had suggested Dr. Sumet Tantivejkul, the Secretary General of Office of the Royal Development Projects Board at that time, to seek for suitable locations to be used as the experiment sites for mangrove rehabilitation. Subsequently, on August 17, 1994, the mangrove trees were planted by HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn at Bang Tra Yai canal and Bang Tra Noi canal. The suggestion of taking care to maintain the planted mangrove trees and the request for the mangrove restoration over the canals were kindly made. On April 2, 1998, as HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn had been walking and biking for exercise near the camp of King Rama VI, she had noticed that there were some salts attached on the soil surface of the fallow area passed by. The Princess then stated the idea to her entourage, Thanpuying Putri Viravaidya, to find the methods of treating the degraded soils and then changing that land to be a natural-green area for recreation purpose and for ecosystem learning as well. In the year 2000, SIEP was established by the cooperation of the Border Patrol Police Bureau, Huai Sai Royal Development Study Center, and the Foundation of Mrigadayavan Palace under the Patronage of HRH Princess Bejaratana Rajasuda Sirisobhabannavadi, on the occasion of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn’s forty-eighth birthday anniversary in the year 2003, at the Rama VI Camp, Cha-am District, Phetchaburi Province. The Park was founded in order to make known the Princess’s honorable deeds and ingenuity in conservation of nature, environment, history, and culture, to Thai people and people around the world. The missions of SEIP include providing knowledge regarding the recovery of mangrove, beach and mixed deciduous forests, and habitat of fauna. Besides, the Park is wished to be an international place for promoting eco-friendly tourism as well as a preciously historical sightseeing. จากแนวพระราชดำริ...พลิกฟื้นผืนป่า คืนชีวิต ให้อุทยานฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ สืบเนื่องจากวันที่ 14 สิงหาคม 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริกับ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้น ณ พระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองปลูกและฟื้นฟู สภาพป่าชายเลนเพื่อให้ระบบนิเวศป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงปลูก ป่าชายเลนที่คลองบางตราใหญ่และคลองบางตราน้อย และได้ พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมกับผู้กำกับการ 1 กองบังคับการ ฝึกพิเศษ ในขณะนั้น ให้ดำเนินการหาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ ชายเลนที่ปลูกไว้นี้อยู่รอดและให้ดำเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปใน พื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง ที่บริเวณคลองบางตราใหญ่และคลอง บางตราน้อย และเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงจักรยาน และทรงวิ่ง ออกกำลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหก ได้ทอดพระเนตรสภาพ ดินและพื้นที่รกร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดิน จึงได้พระราชทาน พระราชดำริกับท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ให้หาทางฟื้นฟูดิน เสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียวและมีความสวยงามตาม ธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและเป็นพื้นที่สำหรับศึกษา ระบบนิเวศที่ได้ปรับตัวหลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้ว จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2543 กองบัญชาการตำรวจ ตระเวนชายแดน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ และมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ” ณ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อนอ้มเกลา้ฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุ 4 รอบ ในปี พุทธศักราช 2546 โดยมีแนวทางในการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ และพระราชกรณียกิจ ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในบริเวณ ค่ายพระรามหก เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้อุทยานฯ เป็น เสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต โดยมุ่งหวังว่าเมื่ออุทยานฯ แห่ง นี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จะเป็นสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและ พระปรีชาสามารถในด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และจะเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ทางด้าน การฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของ สัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และเชิงประวัติศาสตร์ อันทรงคุณค่าของประเทศไทยและของโลก วันที่ 17 สิงหาคม 2537 August 17, 1994 13


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above