ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองประธานกรรมการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Thanpuying Putri Viravaidya, Vice Chairman of SIEP Foundation welcome HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. Thanpuying Putri Viravaidya Mangrove forests, beach forests, mixed deciduous forests, and other ecosystems involving marine, terrestrial, and avian migratory species have been interested by HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn for a long time. The Princess has been concerned about the balance of nature since she was young while following HM the King and Queen to look up people over the country. This brought many studies to increase the quality of life of the Thai people. The Princess regularly went to plant mangrove trees at Mrigadayavan Palace. Besides, the Princess also gave priority to the teaching of the Border Patrol Police School, the school Somdej Phra Srinagarindra Boromarajajonani had established with her own fund for the remote children; it has been our greatest privileged. The Princess has been walked along the footprint of Somdej Phra Srinagarindra Boromarajajonani, her grandmother, to give warm-heartedness to students and teachers of the Border Patrol Police School continuously. With numerous concepts given to the school by the Princess, the Border Patrol Police Bureau, Huai Sai Royal Development Study Center, and the Foundation of Mrigadayavan Palace under the Patronage of HRH Princess Bejaratana Rajasuda Sirisobhabannavadi, therefore, established SIEP on the occasion of the Princess 48th birthday anniversary in the year 2003. SIEP is located in the area which King Mongkut Klao, Rama VI announced to be a non-hunting area; a strategy of the King to allow his people and followers to have a sense of conservation. This area possesses a lot of Hog deer (Axis porcinus) and it was the origin of the name “Mrigadayavan” which means a peaceful habitat for deer and other wildlife. Conservation of species dwelling on land, in freshwater, in seawater, and in brackish water can be done by preventing the deforestation. The Mrigadayavan Palace is therefore perfect for ecosystem study. King Mongkut Klao, Rama VI was obviously aware of the security of the nation as we can see from his poem. ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ตลอดจนระบบ นิเวศของป่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของสัตว์น้ำ สัตว์บก และ สัตว์ปีก เป็นที่สนพระราชหฤทัยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นเวลาเนิ่นนาน ทรงตระหนักถึงความ สำคัญของสมดุลธรรมชาติมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และเมื่อโดยเสด็จ พระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการทรงเยี่ยมประชาชน ทำให้ ได้ทรงศึกษาการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกป่าชายเลนในพื้นที่พระราช นิเวศน์มฤคทายวันอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ ยังทรงให้ความสำคัญ ต่อระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงก่อตั้ง ขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินที่มีผู้ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้เด็กๆ ที่อยู่ห่างไกลความเจริญได้มีโอกาส ศึกษาเล่าเรียน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ และเมื่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินตามรอย พระบาท “สมเด็จย่า” ได้พระราชทานความอบอุ่นอย่างต่อเนื่องแก่ นักเรียนและครูตำรวจตระเวนชายแดน ด้วยพระราชดำริที่พระราชทาน นานัปการ นำมายังโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและครูตำรวจ ตระเวนชายแดนเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุหลากหลาย กองบัญชาการ ตำรวจตระเวนชายแดน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ และมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดี จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” ขึ้น เพื่อ เฉลิมพระเกียรติในวาระที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2546 “อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร” ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเป็นเขต อภัยทาน กล่าวคือเป็นเขตที่ห้ามมีการล่าสัตว์ ซึ่งเป็นพระบรม ราชกุศโลบายที่จะให้ข้าราชบริพารและพสกนิกรที่อยู่ในเขต พระราชนิเวศน์มีจิตอนุรักษ์สัตว์ เช่น เนื้อทรายที่มีชุกชุม และเป็น เหตุที่ทรงตั้งนามพระราชนิเวศน์ว่า “มฤคทายวัน” หมายถึง ที่พัก อันสงบสุขของกวาง การรักษ์สัตว์บก นก และสัตว์น้ำที่อยู่อาศัยใน น้ำจืด น้ำกร่อย และทะเล เป็นการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่ง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งสิ้นโดยปริยาย พื้นที่พระราชนิเวศน์ จึงเหมาะแก่การศึกษาระบบนิเวศในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึง ความมั่นคงของพระราชอาณาจักรเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ จากโคลงลายพระหัตถ์พระราชนิพนธ์ที่เชิญมา 18 บทสัมภาษณ์พิเศษ / Exclusive Interview
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above