“นำความรู้ที่มี มาใช้ และพัฒนา” “Knowledge has been utilized and developed.” ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว กรรมการมูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรฯ Professor Dr. Sanit Aksornkoae, Board Member of SIEP Foundation ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ก่อตั้งอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธรแห่งนี้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ ช่วยทำงานมาเพราะทำแล้วมีความสุข ได้มีโอกาสถวายงาน ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพราะพระองค์ทรงท่านทำงานหนักมากจริงๆ เรามีความรู้ความ เชี่ยวชาญ ผมจึงเข้าไปทำงานร่วมกับผู้แต่งตั้งก่อตั้งหลายท่าน สานต่อจนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สำหรับอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรแห่งนี้ ได้ก่อกำเนิด ขึ้นมาจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาทรงปลูกป่าชายเลน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 โดยได้ ปลูกไม้โกงกางไว้ 200 กว่าต้น ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณคลองบางตราใหญ่ และคลองบางตราน้อย ในค่ายพระรามหก ผมใคร่ขอเรียนว่าพื้นที่บริเวณนี้น่าสนใจมาก เนื่องจากมี ระบบนิเวศเป็นระบบเชื่อมโยงจากภูเขาสู่ทะเล จากผืนป่าบน ยอดเขาสู่พื้นที่ป่าชายเลนติดทะเลด้านล่าง ทำให้มองเห็นถึงความ เชื่อมโยงของระบบนิเวศในพื้นที่บริเวณนี้ และจะต้องมีการศึกษา วิจัยเพื่อการพัฒนาในอนาคต เพื่อเป็นรูปแบบในการจัดการระบบ นิเวศที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และสามารถขยายองค์ความรู้สู่ ระดับนานาชาติได้อีกครั้ง “คำว่า นานาชาติ ผมหมายความว่า หลายๆ ชาติ ที่อยู่ใน ภูมิภาคของเรา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในด้านการศึกษา วิจัย และเรียนรู้ ร่วมกัน” เมื่อมองเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของพื้นที่ที่มีอยู่อย่าง มากมาย พวกเราก็เข้ามาสานต่อในสิ่งที่พระองค์ท่านได้เริ่มไว้ เพื่อที่ จะให้บรรลุผลสำเร็จที่ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่า “เมื่อปลูก ป่าชายเลนแล้วจะได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง สภาพสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น ทราบถึงสภาพทางกายภาพ มีการฟื้นฟู สัตว์น้ำ นก และสัตว์ในบริเวณรอบนั้นด้วย” ผมเองได้จัดทีมวิจัย เข้าไปศึกษาในพื้นที่ป่าชายเลนที่พระองค์ท่านได้ทรงปลูกไว้และจัด ทำเป็นหนังสือถวายท่าน ที่ทรงปลูกไว้ 200 กว่าต้นนั้น จากผลการ วิจัยพบว่า ต้นโกงกางที่พระองค์ท่านทรงปลูกไว้ 200 กว่าต้น ตายไป เพียง 19 ต้น และจากพื้นที่ทรงปลูกที่ได้มีการปรับพื้นสภาพ สิ่งแวดล้อมพบว่ามีสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา เพิ่มมากขึ้น As one of SIEP founders, personally, it’s my proudest time in having a chance to work for HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. The Princess has worked very really hard. I had expertise to share; therefore, I went to join the foundation team and run rest of the task with the team until it’s satisfactory done. SIEP was established on August 17, 1994; the day that HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn was planting more than 200 mangrove (Rhizophora) in Bang Tra Noi canal and Bang Tra Yai canal in the area of Rama VI Camp. I would like to say that this area is very interesting since there are many ecosystems connected to each other, as a result mainly from mountain down to the sea. The mountainous forest is connected to mangrove forest as we can see the linkage of the ecosystems in this area. Research and development are needed to systematically manage each ecosystem and to enlarge the findings moving to international level then. “What I mean about international is that many nations in our region can participate in studying, researching, and learning together.” When realizing the value and benefits of this area, we can take action to continue the work at SIEP to accomplish the intention of the Princess which stated “when the mangrove is already planted, there will be a research to learn about the change of environment, to know about physical conditions, and how to restore the habitats of aquatic, avian and other species” I had set a team going to study at this mangrove planted area and did a report to the Princess. Only 19 of the 200 planted mangrove trees had died and the aquatic species such as shrimps, crabs, fish and snails had been found more than before. 20 บทสัมภาษณ์พิเศษ / Exclusive Interview
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above