Page 33

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park constructions of permanent dikes close to the sea are began. Many people are still doubtful whether in 2012 it would really become the end of the world. Applications of mathematical model to predict changes of global climate in the next 100 years did not find such evidence. However, there is a possibility that the world would have to face with the worst catastrophe. Data from experts of several institutes, including IPCC indicated that the efforts to control the global temperature emission not to exceed more than 2oC are needed to control the amount of greenhouse gases emission not to exceed 450 parts per million (ppm). At present, the amount of greenhouse gases is about 380 ppm and tends to increase at the rate of about 2 ppm per year. Thus, if there is no any measures in place, the world will have to face with something unexpected in the near future (about 30-40 years). This would have to take some time before the people on earth get affected, such as predicted sea level ความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่รุนแรงและภัยพิบัติโดยการปรับตัวกับ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยคณะทำงานกลุ่มที่ 2 (Working Group 2) ภายใต้คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change - IPCC หรือ ไอพีซีซี) มีข้อมูลที่น่าสนใจ และให้ ความสำคัญกับมาตรการปรับตัว (Adaptation) นอกเหนือจาก มาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง และ แม้ว่าจะสามารถตกลงกันได้ในเวลานี้ ก็ไม่สามารถลดผลกระทบได้ ทันที ทั้งนี้อาจจะต้องใช้เวลาเป็น 100-1,000 ปี ดังนั้น การลด ผลกระทบจากภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึง จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างของสังคมให้เป็นสังคมที่เข้มแข็ง และ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ประชาชนทุกคนต้อง ตระหนักถึงความรุนแรง และความถี่ของภัยพิบัติซึ่งจะมากขึ้นตาม ลำดับ ในที่ประชุมมีการย้ำถึงกลยุทธ์ด้าน “ไคลเมท สมาร์ท” (Climate Smart) เป็นการปรับตัวอย่างชาญฉลาดต่อภัยคุกคามจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังตัวอย่างในประเทศพัฒนาที่ได้ มีการดำเนินกลยุทธ์ด้าน ไคลเมท สมาร์ท (รูปที่ 6) เช่น กรณีของ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการกำหนดยุทธศาสตร์ “หาที่น้ำอยู่” รวมทั้ง มีการปรับยกระดับคันกั้นน้ำให้สูงขึ้น การสร้างห้องเก็บน้ำใต้ดินใน พื้นที่สาธารณะต่างๆ เมืองใหญ่ๆ ในมลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐ อเมริกาก็มีการออกแบบบ้านที่อยู่อาศัยให้มีใต้ถุนสูง ประเทศ สิงคโปร์ มีการปรับยกคันกั้นน้ำรอบเกาะให้สูงขึ้น ประเทศเวียดนาม เริ่มสร้างคันกั้นน้ำแบบถาวรริมทะเล เป็นต้น หลายคนยังคงสงสัยว่า ในปี พ.ศ. 2555 จะเป็นปีอวสาน โลกจริงหรือ จากการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใน การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคต 100 ปี ยังไม่พบกับหลักฐานดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไป ได้ที่โลกจะต้องเผชิญกับหายนะที่เลวร้ายที่สุด จากข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญหลายสำนัก รวมทั้ง ไอพีซีซี ระบุว่า ความพยายาม รูปที่ 6 ตัวอย่างการปรับตัวโดยใช้กลยุทธ์ “Climate smart” (www.treehugger.com) Figure 6 An example of adaptation applying the “Climate Smart” strategy (www.treehugger.com). 33


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above