ในการควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกินกว่า 2 องศา เซลเซียส จำเป็นที่จะต้องควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ เกิน 450 ส่วนในล้านส่วน (ppm) โดยที่ตัวเลขปัจจุบัน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ประมาณ 380 ppm และมีอัตราเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 ppm ต่อปี ดังนั้นถ้ายังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมา โลกก็ อาจจะต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่อาจคาดฝันได้ ในระยะเวลาอันใกล้ (ประมาณ 30-40 ปี) แต่ชาวโลกกว่าจะได้รับผลกระทบก็อาจจะใช้ เวลาสักระยะหนึ่ง เช่น ระดับน้ำทะเลที่มีการคาดการณ์อาจสูงขึ้นอีก เกือบ 1.5-2 เมตร ในศตวรรษหน้า หลายพื้นที่บนโลกก็คงต้องจมน้ำ สำหรับประเทศไทย มหาอุทกภัย 2553 ถือเป็นบทเรียน ครั้งสำคัญที่มิอาจมองข้ามในทุกๆ มิติของการบริหารจัดการ ภัยพิบัติ การเสียชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ประกอบกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ที่มีทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนที่ทำให้สังคม ไทยควรตระหนักร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน เสียสละร่วมกัน เพื่อ สร้างบรรทัดฐาน และแนวทางผลประโยชน์ร่วมกัน นำพาประเทศ ไทยให้หลุดพ้นจากวงจรความสูญเสียที่จะกลับมาอีกอย่างไม่ สามารถหลีกเลี่ยงได้ อนาคตจึงขึ้นอยู่กับทุกภาคส่วนของสังคม เริ่มจากระดับนโยบาย ภาคการเมือง ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาค ประชาชน และองค์การไม่แสวงหาผลกำไร (Non Profit Organization-NGO) ต่างๆ ทั้งหลายว่าจะสามารถปรับตัวรับกับ สถานการณ์ได้อย่างไร และที่สำคัญหาที่สุดมิได้ “พระมหา กรุณาธิคุณ ที่ทรงอยู่เคียงข้างประชาชนของพระองค์ ยามใดที่ ราษฎรเป็นทุกข์ พระองค์จะทรงทุกข์ยิ่งกว่า น้ำพระทัยจากโครงการ พระราชดำริฯ จึงปรากฏขึ้นทั่วหล้าฟ้าเมืองไทย” ในฐานะประชาชน คนหนึ่ง จึงขอนำบทเรียนที่เกิดขึ้น มาสะท้อน ประเมิน และ วิเคราะห์ให้ทุกภาคส่วนได้เห็นข้อเท็จจริง พร้อมร่วมกันขบคิด ปรับปรุงแก้ไขในเชิงการบริหารจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษาเหตุการณ์ครั้งนี้ สังคมต้องยอมรับว่า เรา ประเมินปรากฏการณ์ลานินญา และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศต่ำเกินไป ผู้เขียนได้เคยให้ข้อมูลเชิงวิชาการ และติดตาม สถานการณ์อย่างต่อเนื่องพร้อมให้คำเตือนต่อสังคมไทยตั้งแต่ปลาย ปี 2552 ว่า “ต้นปีจนถึงกลางปี 2553 เราอาจจะต้องเผชิญกับภัยแล้ง อย่างรุนแรง และปลายปีก็อาจจะเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้ง ใหญ่ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่” นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำว่า ภายในปี 2563 พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล อาจจะต้อง เผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สร้างความสูญเสียทาง เศรษฐกิจอย่างมหาศาล ผู้เขียนใช้คำว่าอาจจะ จึงทำให้สังคมไม่ สนใจ และไม่ตระหนักกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การบริหารจัดการ ภัยพิบัติเป็นการบริหารจัดการความเสี่ยง เสมือนกับการทำธุรกิจ ซึ่ง มีความเสี่ยงมากมายที่ต้องคำนึงถึง ถ้าประเมินผลกระทบแล้วรับได้ เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการอะไร ในทางตรงข้าม ถ้าประเมิน แล้วส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เราต้องนำมาวิเคราะห์หามาตรการ รองรับ ในการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติ ของคณะทำงาน rise may increase to nearly 1.5-2 meters in the next century. If that were to happen, many areas in the world would be inundated. For Thailand, the 2010 Great Flood is an important lesson that cannot be overlooked in all dimensions of disaster administration and management. Loss of people lives cannot be valued. This coupled with the economic loss across all sectors brings about new phenomena which have both strengths and weaknesses that Thai society should be aware of, be responsible for and sacrifice together to create a norm and generate a share benefit. In this regard, Thailand can get out of the vicious (loss) circle which will come back again unavoidably. The future then will depend on all sectors of society from policy-makers, political groups, public and private sectors, people groups and NGOs of how they will be able to adapt themselves to the situation. Most importantly, the appreciation of Thai people on “the royal grace” of HM the King who always stands by his people, and whenever the people suffer he will suffer much more. The will of HM the King’s Initiative Projects is appearing throughout Thailand. As an individual I want to bring the lessons to reflex, evaluate and analyze to open up the facts for all concerned sectors to jointly think over and improve of disaster administration and management. Upon case study of this event the society must accept that we underestimated the La Nina phenomenon and the impacts of climate change. I used to provide technical data and continuously monitor the situation 34 เรื่องเด่นประเด็นร้อน / Hot Issue
วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above