Page 38

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์

Part 1 The World Is Sick Although “The world is sick.” is a sentence that has an implication of a negative sense, it is an important reminder to all human beings. Forty years ago when biodiversity data was first systematically collected, it was indicated that the world is moving towards an imbalanced and unsustainable development. There are five main causes namely 1) changing land use 2) over-exploited of natural resources 3) production of wastes and hazardous substances 4) climate change and 5) conflicts and social unrest amongst ethnic groups. The Living Planet Report (2010) described the global physical health by developing three indices namely living planet index (LPI), ecological footprint and water footprint. Living Planet Index, which is an indicator for global ecological change, decreased by about 30 % during 1970-2007 (Figure 1). It is clearly evident that ecosystem was continuously degraded. After 1970 an over-consumption of resources had begun and increased over the reproduction capacity. The emission of CO2 exceeded the absorption โลกกำลังป่วย หลายๆ เมืองกำลังเปื่อย The World is Sick and Many Cities are being Rotten รศ.ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Assoc.Prof. Dr. Seree Supratid Director of Energy for Environment Centre The Sirindhorn International Environmental Park ตอนที่ 1 โลกกำลังป่วย “โลกกำลังป่วย” แม้จะเป็นประโยคที่มีความหมายใน ทางไม่ดีนัก แต่ก็เป็นข้อเตือนใจกับมวลมนุษยชาติ อดีต 40 ปีที่ ผ่านมาที่เริ่มมีการเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ บ่งชี้ ให้เห็นว่าโลกมีการพัฒนาที่ขาดสมดุลและไม่ยั่งยืน จากสาเหตุ หลัก 5 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ทำกิน 2) การอุปโภคและบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินความจำเป็น 3) การปล่อยทิ้งกากของเสียหรือสารที่เป็นอันตราย 4) การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 5) การรุกรานระหว่างชนเผ่า ต่างๆ จากรายงานฉบับล่าสุด โดย ดัชนีการดำรงชีวิตบนโลก ปี พ.ศ. 2553 (Living Planet Report 2010) ที่มีการตรวจเช็ค สุขภาพร่างกายของโลกใบนี้ โดยมีการพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพของ โลก 3 ตัว คือ ดัชนีการดำรงชีวิตบนโลก (Living Planet Index) ฉลากนิเวศน์ (Ecological Footprint) และฉลากน้ำ (Water Footprint) สำหรับดัชนีการดำรงชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศของโลก พบว่า ล่าสุดลดลงไปประมาณร้อยละ 30 ระหว่างปี พ.ศ. 2513-2550 (รูปที่ 1) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ระบบนิเวศเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากปี พ.ศ. 2513 มนุษย์เริ่มมีการบริโภคทรัพยากรเพิ่มขึ้นมากเกินกว่าที่โลกจะผลิตขึ้น มาทดแทนได้ ประกอบกับเริ่มมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากขึ้นเกินกว่าระบบนิเวศจะดูดซับได้ จึงเกิดสถานการณ์ที่ เรียกว่า “เอ็คโคโลจิคอล โอเวอร์ชูทติ้ง” (Ecological Overshooting) (รูปที่ 2) กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2550 มนุษย์บริโภคทรัพยากรธรรมชาติ ประมาณ 2.7 เฮคตาร์ต่อคน (global hectare per capita - gha) ใน ขณะที่โลกสามารถผลิตขึ้นมาทดแทนได้เพียง 1.8 เฮคตาร์ต่อคน (global hectare per capita - gha) ทำให้เกิด เอ็คโคโลจิคอล 38 พลังงาน / Energy


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above