Page 46

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์

การใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 66 เข้าไปแล้ว (เป็น ก๊าซที่ซื้อจากประเทศพม่าถึงประมาณ 1 ใน 3) ส่วนที่เหลือก็เป็น พลังงานจากถ่านหินและลิกไนต์ร้อยละ 20 พลังงานหมุนเวียนร้อยละ 5 และพลังงานน้ำร้อยละ 2 เท่านั้น ประเทศไทยมีการวางแผนพัฒนาพลังงานภาพรวมของ ประเทศไว้มาอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่นี้ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในสังกัดกระทรวงพลังงาน เรามี การวางแผนการอนุรักษ์พลังงานในหลากหลายมาตรการ แต่จาก ข้อมูลในปี พ.ศ. 2553 ก็ยังพบว่าการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นเพิ่ม ขึ้นจากปี พ.ศ. 2552 ถึงร้อยละ 7.3 โดยมีก๊าซธรรมชาตินำหน้ามา เป็นอันดับ 1 คือมีสัดส่วนถึงร้อยละ 44 ของพลังงานขั้นต้นทั้งหมด และมีอัตราการใช้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.7 จากปีก่อนหน้า เหตุผลสำคัญ ก็คือราคาก๊าซธรรมชาติยังถูกเมื่อเทียบกับน้ำมันเตาที่เคยใช้ใน อุตสาหกรรม และมาตรการส่งเสริมรถยนต์ใช้ก๊าซเอ็นจีวี (NGV) ของ รัฐบาล ส่วนน้ำมันนั้นมีสัดส่วนรองลงมาคือร้อยละ 37 เพิ่มขึ้นจากปี ก่อนเพียงร้อยละ 2.2 สาเหตุง่ายๆ ก็คือน้ำมันราคาแพง ถึงแม้ มาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของรัฐบาลจะถูกนำมาใช้อยู่ตลอด ก็ตาม สำหรับแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า กระทรวงพลังงานได้คลอด นโยบายการจัดทำร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2573 (PDP 2010) ฉบับล่าสุด ที่มีการปรับค่าการพยาการณ์ การใช้ไฟฟ้าให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น โดยมีการปรับลดความ ต้องการไฟฟ้าของปี พ.ศ. 2564 ลงถึง 7,716 เมกะวัตต์ ถ้าจะเทียบเป็น จำนวนโรงไฟฟ้าก็หายไป 5-6 โรงจากที่ประมาณไว้เดิม และได้มี การประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยยาวไปถึงปี พ.ศ. 2573 โดย คาดว่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 52,890 เมกะวัตต์ หรือเติบโตขึ้น กว่า ร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับความต้องการ ณ วันนี้ (29,000 เมกะวัตต์) โดยเป้าหมายหลักก็คือ ต้องการให้มีการใช้แหล่งพลังงานที่หลากหลาย แทนที่จะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติมากถึงร้อยละ 70 เหมือนในปัจจุบัน ดังนั้น ต้องมีมาตรการเพื่อลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่งเสริมพลังงานสะอาดในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น โดยแหล่งพลังงานที่ จะถูกนำมาใช้ตามแผนใหม่ ก็คือ พลังงานหมุนเวียนทุกชนิด แต่เมื่อมอง ที่ตัวเลขศักยภาพที่มีให้ใช้ได้เพียงร้อยละ 5 ของความต้องการทั้งหมดแล้ว ดูจะเป็นเรื่องห่างไกลความเป็นจริงอย่างยิ่งที่เราจะไปพึ่งพาเพียงพลังงาน หมุนเวียนเพียงอย่างเดียว สำหรับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่ปล่อย มลพิษต่ำก็อยู่ในแผนนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็จะทำให้อัตราส่วนการใช้ถ่านหิน ตามแผนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 โดยไปลดการใช้ก๊าซธรรมชาติจากเดิม ร้อยละ 70 ให้เหลือเพียงร้อยละ 60 และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ใหม่ สำหรับบ้านเรา ก็คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งตามแผนใหม่ระบุไว้ที่ 5,000 เมกะวัตต์ หรือประมาณร้อยละ 11 แต่เมื่อดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน หลังจากเกิดวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิชิ แล้วดูเหมือนว่า โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยคงไม่ได้เกิดในช่วงระยะเวลา อันสั้นอย่างแน่นอน หรือบางทีอาจไม่มีโอกาสได้เกิดอีกเลยก็เป็นไปได้ เหตุการณ์วิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ไดอิชิ นั้น เราคง ต้องมองกันให้เห็นภาพชัดๆ ว่า ปัญหาที่ลุกลามมาจนถึงขั้นแกนเตา ปฏิกรณ์ละลาย อย่างที่เกิดขึ้นที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้า commercial increased by 7.3% from the year 2009. The use of natural gas reached to a number one, with 44% of total primary energy and it increased by 14.7% from the previous year. Important reasons for this were the cheap price of natural gas compared with the oil used in industry, coincided with the promotion measure held by the government to support NGV cars. However, the oil is the second one that is used by 37%. It is increasing just 2.2% from the previous year. A simply reason is that oil is too expensive, even the price of diesel oil has been subsidized by the government overtime. For the electricity power development plan, the Ministry of Energy has issued the PDP 2010 Plan. This lastly plan adjusted the estimate of further use of electricity to the real energy consumption. As a result, the demand of electricity in 2021 can reduce downwards by 7,716 MW. This is equivalent to the capacity about 5-6 power plants. Also the anticipate of the electricity demand in 2030 will reach to 52,890 MW, or grow up to 80% in total demand, compared with the today’s 29,000 MW. The main aim of the Plan is to employ power from various sources, instead of reliance on the 70% of natural gas, so far. Therefore, measures to reduce reliance on natural gas must be gradually and also measures to use clean energy in various forms must be increasingly promoted. Renewable energy has been taken as a new source in the plan. However, seemingly potential number from the new sources is only 5% of our energy demand. This seems too far to rely only on the use of renewable energy. Clean coal technologies that reduce toxic emissions are also included in this plan. Hopefully, the ratio of coal will increase up to 15 % and subsequently the use of natural gas will reduce from 70% to 60%. In addition, a new clean technology for our country may be a nuclear power plant. Such new plan gives the power provision about 5,000 MW, or 11% of total energy demand. But looking back to the crisis of the Fukushima Daiichi nuclear power station in Japan, the nuclear power project is hardly immerged in the short term, or forever. Crisis events at the Fukushima Daiichi nuclear power plant obviously picture that problems cased a reactor core meltdown at the No.1 reactor is unusually happen in the world. Such severe event was because of an earthquake reaching 9 Richter scale, following by subsequent giant tsunami with 10 metre high wave (whereas the plant was designed to withstand at 6.5 metre wave). The wave attacked a reactor core meltdown, and damaged the cooling and generator systems. Unlike Japan, other countries including Thailand are not located in the vicinity tectonic faults. So it is impossible 46 พลังงาน / Energy


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above