Page 55

วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์

สภาพความเป็นป่า คุณภาพของดินเสื่อมโทรมกลายเป็นดินทราย และดินดาน ขาดความสมบูรณ์ มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ประกอบกับวิกฤติการณ์โลกร้อนเริ่มมีความรุนแรงขึ้นในช่วงนี้ ทำให้ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก่อให้เกิดการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ จนกระทั่งวันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โดยการจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” โดย จัดทำ “ระบบภูเขาป่า” ด้วยการใช้พลังแสงอาทิตย์สูบน้ำขึ้นภูเขาและ ปล่อยให้ไหลบ่าผิวดินเพื่อความชุ่มชื้น และสร้างฝายเก็บกักน้ำโดย รอบภูเขา และขุดสระเก็บกักน้ำในบริเวณเชิงเขาด้านล่าง ทำให้พืช สามารถสืบพันธุ์ตามธรรมชาติได้ดี เรียกว่า “ระบบนิเวศป่าเปียก” นอกจากนี้ ยังทรงนำหญ้าแฝกมาปลูกในที่แข็งเป็นดินดาน ทำให้ สามารถอุ้มน้ำและปลูกต้นไม้และการเกษตรอย่างได้ผล โดย พระองค์ทรงส่งเสริมการปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้เศรษฐกิจสร้างบ้าน ใช้สอยในการเป็นฟืนถ่าน ใช้เป็นอาหาร ซึ่ง ไม้ 3 อย่างดังกล่าวให้ประโยชน์ในด้านดินและน้ำด้วย เป็นผลให้ ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ฟื้นฟูสภาพกลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ทั้งในแง่ของทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และแหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อประโยชน์ ต่อความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่จรดชายฝั่ง ทะเล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นยางนาเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่าไม้ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn graciously planted Yang Dipterocarpus alatus Roxb. Ex G.Don, for rehabilitating the forest ecosystem at the Huay Sai Royal Development Study Center. the southern region. This road divided the inland ecosystem from coastal ecosystem in that they had connected together. Almost 40 years, the original forest was totally destroyed and its complementarily was markedly declined. Soil quality had been deteriorated and thus became sandy soil and compact hardpan soil with deficient fertility. His Majesty King Bhumibol Adulyadej graciously provided royal initiative to rehabilitate natural resources and environment. Therefore, on April 5, 1983, “Huay Sai Royal Development Study Center” was established in accordance with the royal initiative of the King. The “Phu Khao Pa System” with assistance of solar energy to pump water up to the top of mountain and then releases the water flowing over soil surface, and “Pa Piak” by constructing check dams around the mountain and digging ponds at the foothills in order to uphold natural plant reproduction. Furthermore, His Majesty the King graciously advised the plantation of Vetiver grass in compact hardpan soil. As a result, the soil could hold more water for cultivating trees and practise agriculture efficiently. King Bhumibol enhanced multipurpose forest plantation (3 kinds of plant for 4 benefits), by planting economically valuable trees for house construction, firewood, and fruit plants. Such plantation also provided benefits on soil and water conservation. Consequently, the area was restored and fertile in terms of forest resources, wildlife and water resources that was beneficial to the livelihood of people living in the surrounding area till the coastal area. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและ สภาพแวดล้อมโดยการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 His Majesty King Bhumibol Adulyadej graciously provided royal initiative to rehabilitate natural resources and environment by establishing the Huay Sai Royal Development Study Center on April 5, 1983. หญ้าแฝกช่วยทำให้ปลูกพืชในพื้นที่ดินดานได้ผล Vetiver grasses are quite effective in helping tree planting in hardpan soil. วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร Journal of the Sirindhorn International Environmental Park 55


วารสารอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ฉบับปฐมฤกษ์
To see the actual publication please follow the link above