Page 11

การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

3. น าหนักสดและน้ าหนักแห้ง จากการศึกษาหญ้าทนเค็มต่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเล พบว่า หญ้าแต่ละชนิดมีน้ าหนักสด และน้ าหนักแห้งแตกต่างกัน หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) ให้น้ าหนักสดและน้ าหนักแห้งสูงสุดตลอด การศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับด้านผลผลิต มีน้ าหนักสดสูงที่สุดในเดือนธันวาคม 2553 (602.83 กิโลกรัมต่อ ไร่) เนื่องจากเป็นระยะแรกของการเจริญเติบโตหลังจากปลูก จึงท าให้ได้ผลผลิตมาก ส่วนน้ าหนักแห้ง พบว่าหญ้าซีบรูคมีน้ าหนักแห้งมากที่สุดในเดือนกันยายน 2554 (953.81 กิโลกรัมต่อไร่) (ตารางที่ 2) ทั้งนี้ เป็นผลมากจากในช่วงเดือนกันยายนเป็นฤดูฝน ฝนที่ตกลงมาท าให้เกลือที่อยู่บนผิวดินถูกละลายลงใต้ดิน จึงส่งผลให้มีหญ้ามีการเจริญเติบโตที่ดี มีน้ าหนักสดสูง และน้ าหนักแห้งก็สูงตาม อีกทั้งเวลาที่ตัดหญ้าจะ อยู่ในช่วงเวลาบ่าย ซึ่งเป็นช่วงที่พืชมีการสังเคราะห์แสงได้มาก ซึ่ง ดนัย (2555) ได้รายงานว่า ใบซึ่งมี น้ าหนักสดในตอนบ่ายน้อยอาจจะมีน้ าหนักแห้งมากในตอนบ่ายก็ได้ เพราะมีการสังเคราะห์แสงและได้รับ ธาตุอาหารจากดิน ดังนั้นการชั่งน้ าหนักแห้งจึงมีประโยชน์ในด้านการวัดการเจริญมากกว่าการใช้น้ าหนัก สด อย่างไรก็ตามการชั่งน้ าหนักอาจจะพบว่าน้ าหนักเพิ่มขึ้นโดยพืชไม่มีการเจริญเติบโตได้ เพราะเนื้อเยื่อ อาจจะมีน้ าหนักเพิ่มขึ้นเพราะมีการสะสมอาหาร เช่น แป้ง และไขมัน โดยไม่มีการเจริญเติบโตเข้ามา เกี่ยวข้อง แต่ในพืชไร่นั้นการเพิ่มน้ าหนักจะใช้ได้ดีกับพืชอาหารสัตว์ ในขณะที่หญ้า Smyrna ให้ทั้งน้ าหนัก สดและน้ าหนักแห้งน้อยที่สุด ซึ่งหญ้าแต่ละชนิด จะมีการเจริญเติบโต ลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อน้ าหนักแห้งและน้ าหนักสดของพืชและการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของน้ าหนักยังขึ้นอยู่กับสภาพ ภูมิอากาศเช่นกัน 4. ปริมาณธาตุอาหารสะสมในหญ้า ไนโตรเจน จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุไนโตรเจนสะสมในเนื้อเยื่อของหญ้าที่อายุ 6 เดือน และ 1 ปี 2 เดือน พบว่าหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีปริมาณไนโตรเจนสะสมในเนื้อเยื่อมากที่สุด คือ 6.15 และ 9.25 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) มีปริมาณไนโตรเจนสะสม 1.87 และ 1.22 กิโลกรัมต่อไร่ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) มีปริมาณไนโตรเจนสะสม 1.07 และ 2.15 กิโลกรัมต่อไร่ และหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) มีปริมาณไนโตรเจน สะสมน้อยที่สุดคือ 0.81 และ 1.86 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 3 และ 4) ทั้งนี้หญ้าซีบรูคมีปริมาณไนโตรเจน มากที่สุดเพราะ ดินที่ปลูกมีปริมาณอินทรียวัตถุมากกว่า ซึ่งเป็นแหล่งไนโตรเจนให้แก่พืช อีกทั้งหญ้าซีบรูค เป็นหญ้าที่มีการเจริญเติบโตดี มีใบสีเขียวจ านวนมาก และใบเรียงตัวในแนวราบเพื่อรับแสง จึงท าให้พืชมี การสังเคราะห์แสงได้มาก ส่งผลให้มีการสะสมอาหาร ส่วนหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) มีปริมาณธาตุไนโตรเจนน้อยที่สุดเพราะลักษณะของใบเรียวยาวพื้นที่ใบน้อย มีการเรียงตัวใน


การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above