Page 12

การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

แนวตั้งตรง ท าให้การรับแสงได้น้อย มีผลต่อการสังเคราะห์แสง และให้มวลชีวภาพน้อย จึงมีผลต่อการ สะสมธาตุต่าง ๆ ในพืชน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าซีบรูค ฟอสฟอรัส จากการวิเคราะห์ปริมาณฟอสฟอรัสสะสมในเนื้อเยื่อหญ้า พบว่า ที่ 6 เดือน และ 1 ปี 2 เดือน หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสมมากที่สุดคือ 1.09 และ 1.72 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ (ตารางที่ 3และ 4) และจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้น รองลงมาคือหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) ที่อายุ 6 เดือนจะมีปริมาณฟอสฟอรัสสะสม 0.69 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่ออายุ 1 ปี 2 เดือน ปริมาณฟอสฟอรัสสะสมลดลงเหลือ 0.18 กิโลกรัมต่อไร่ อาจเป็นเพราะฟอสฟอรัสไม่สามารถละลาย ได้ ท าให้รากพืชไม่สามารถล าเลียงไปสู่เซลล์พืชได้ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสม 0.28 และ 0.48 กิโลกรัมต่อไร และ Sporobolus virginicus ชนิดใบ หยาบ (Dixie) มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสม 0.27 และ 0.35 กิโลกรัมต่อไร่ จะมีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น โพแทสเซียม จากการวิเคราะห์หาปริมาณโพแทสเซียมสะสมในเนื้อเยื่อหญ้า พบว่า ที่อายุ 6 เดือน และ 1 ปี 2 เดือน หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีปริมาณโพแทสเซียมสะสมมากที่สุดคือ 3.92 และ 6.20 กิโลกรัม ต่อไร่ ตามล าดับ รองลงมาคือ Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) มีปริมาณโพแทสเซียมสะสม 0.76 และ 1.51 กิโลกรัมต่อไร่ และ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) มีปริมาณ โพแทสเซียมสะสม 0.44 และ 1.20 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งหญ้าทั้ง 3 ชนิดนี้จะมีปริมาณโพแทสเซียมสะสมใน เนื้อเยื่อเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) จะมีปริมาณโพแทสเซียมที่อายุ 6 เดือน 1.34 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุ 1 ปี 2 เดือน จะลดลงเหลือ 0.71 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณ ฟอสฟอรัส (ตารางที่ 3 และ 4) โซเดียม จากการวิเคราะห์ปริมาณโซเดียมสะสมในเนื้อเยื่อหญ้า พบว่า หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มี ปริมาณโซเดียมสะสมที่อายุ 6 เดือน และ 1 ปี 2 เดือน เท่ากันและมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าชนิด อื่นคือ 5.91 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) และ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) จะมีปริมาณโซเดียมสะสมเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ส่วน หญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) จะมีปริมาณโซเดียมสะสมลดลงเมื่ออายุมากขึ้น (ตารางที่ 3 และ 4) และปริมาณโซเดียมสะสมแปรตามมวลชีวภาพ


การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above