3. การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีในดิน พื้นที่การศึกษาการใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร เป็นพื้นที่ดินถม เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินเหนียว โดยที่บริเวณรอบๆ เป็นชุดดินหนองแก ปฏิกิริยาของดิน (pH) จากการวิเคราะห์ปฏิกิริยาของดิน (ตารางที่ 5) พบว่า แปลงปลูกหญ้าแต่ละชนิดมีปฏิกิริยาของดิน มีความเป็นกลาง อยู่ระหว่าง 7.08 – 7.30 หลังจากปลูกแล้ว 6 เดือน พบว่า ปฏิกิริยาดินเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะแปลงที่เป็นหญ้าขึ้นตามธรรมชาติ มีปฏิกิริยาดินเพิ่มขึ้น จาก 7.08 เป็น 7.58 หญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) มีปฏิกิริยาดินเพิ่มขึ้น จาก 7.10 เป็น 7.50 ส่วนแปลงปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) นั้นมีปฏิกิริยาดินเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด เมื่อสิ้นสุดการทดลองดินมี ปฎิกิริยาดินเพิ่มขึ้นทุกแปลงทดลอง โดยเฉพาะแปลงที่ปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) ทิ่ปฏิกิริยาดินเพิ่มขึ้นจาก 7.40 เป็น 7.92 ค่าการน าไฟฟ้าของดิน (ECe) จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน (ตารางที่ 5) พบว่าแปลงทดลองเป็นดินเค็มปานกลางถึง ดินเค็มจัด โดยที่แปลงที่ปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีค่าการน าไฟฟ้าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 12.46 เดซิ ซีเมนต์ต่อเมตร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นดินเค็มมาก รองลงมาคือ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) หญ้าธรรมชาติ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) และ หญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) คือมีค่าการน าไฟฟ้า 8.95, 7.35, 6.85 และ 5.58 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ตามล าดับ เมื่อ หญ้ามีอายุ 6 เดือน พบว่า แปลงปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีค่าการน าไฟฟ้าจาก 12.46 เดซิ ซีเมนต์ต่อเมตร ลดลงเหลือ 5.80 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร และแปลงปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิด ใบละเอียด (Smyrna) ก็มีค่าการน าไฟฟ้าลดลงจาก 8.95 เหลือ 4.80 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร อยู่ในระดับดิน เค็มปานกลาง ทั้งนี้เป็นเพราะหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้ มีกลไกการดูดหรือคายเกลือ ซึ่งการคายเกลือออกมาทาง ใบหรือราก(salt-excreting)เช่นต่อมเกลือ(salt gland) (Glen, 1987; www1.york.ac.uk/depts/biol/staff /sanders/webg.htm) ซึ่งสอดคล้องกับ ปริมาณโซเดียมที่สะสมในเนื้อเยื่อของหญ้า ที่หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีการสะสมโซเดียมมากที่สุด (ตารางที่ 3) จึงส่งผลให้ดินมีค่าการน าไฟฟ้าลดลง ฉะนั้นหญ้าชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติที่จะน าไปปลูกเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลได้ดีกว่าหญ้าชนิดอื่น ตรงกันข้ามหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) ที่แปลงปลูกดินมีค่าการน าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5.58 เป็น 9.45 เดลิซีเมนต์ต่อเมตร ส่วนดินหลังปลูก พบว่าหญ้าทุกชนิดมีความสามารถในการดูดเกลือเนื่องจากค่าการน า ไฟฟ้าลดลง ทังนี้เป็นเพราะช่วงการเก็บตัวอย่างดินตรงกับฤดูฝนซึ่งปริมาณน้ าฝนจะกดทับน้ าเค็มที่อยู่ใต้
การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above