Page 16

การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

ดินท าให้ค่าการน าไฟฟ้าลดลง นอกจากนี้ลักษณะประจ าพันธุ์ของพืชแต่ละชนิดก็มีผลต่อค่าการน าไฟฟ้า ของดิน ตัวอย่างหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) ที่มีลักษณะเลื้อยปกคลุมผิวดิน จะช่วยรักษาความชื้นใน ดิน ท าให้มีเกลือสะสมที่ผิวดินน้อย ท าให้ค่าการน าไฟฟ้าของดินลดลงมากกว่า ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (Organic matter) จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน พบว่า ก่อนปลูกหญ้าดินมีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 0.45 – 0.60 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระดับต่ า เมื่อปลูกหญ้าได้ 6 เดือน พบว่า ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นทุก แปลง โดยเฉพาะแปลงที่ปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) และหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบ ละเอียด (Smyrna) ที่มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น 0.40 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 5) ซึ่งเป็นผลมาจากค่าการ น าไฟฟ้าที่ลดลงในแปลงปลูกหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้ จึงส่งผลให้จุลินทรีย์สามารถท างานได้ เกิดการย่อยสลาย อินทรียวัตถุในดิน และผลิตสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้ และยังมีผลท าให้ดินร่วนซุย รากพืชชอนไชได้ง่าย ดินทน ต่อการชะล้างและการกร่อน เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ า การแทรกซึมน้ า การซาบซึมน้ า และการ ถ่ายเทอากาศของดินดีขึ้น (ยงยุทธ, 2555) มีผลท าให้น้ าหนักสดของหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มาก ที่สุด (ตารางที่ 2) และหลังปลูก พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแปลงที่ปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มากที่สุดคือ 1.32 เปอร์เซ็นต์ และหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยที่สุดคือ 0.85 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสในดิน (Available Phosphorus) จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมี พบว่า ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสในดินก่อนปลูก อยู่ระหว่าง 11.25 – 40.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมดิน ดินในแปลงปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีปริมาณฟอสฟอรัสสูง ที่สุดคือ 40.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่สูง (ตารางที่ 5) เมื่อหญ้าอายุได้ 6 เดือน พบว่า ดิน ในแปลงที่ปลูกหญ้าทั้ง 5 ชนิด มีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นทุกแปลง โดยเฉพาะแปลงปลูกหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) ที่มีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น 71.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่เพิ่มมากกว่าแปลงปลูก หญ้าชนิดอื่น ส่วนหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) ดินมีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มน้อยที่สุดคือ จาก 40.25 เป็น 101.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เนื่องจากมีการดูดสะสมไว้ในเนื้อเยื่อได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่น จึงส่งผล ในดินมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด และหลังการทดลอง พบว่าแปลงปลูกหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) ปริมาณฟอสฟอรัสในดินเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ จาก 101.50 เป็น 225.75 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณอินทรีวัตถุเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ จุลินทรีย์เกิด กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ท าให้ได้ธาตุอาหารเพิ่มขึ้นตามไปด้วย


การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above