ปริมาณโพแทสเซียมในดิน (Available Potassium) จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมี พบว่า ดินมีปริมาณโพแทสเซียมอยู่ระหว่าง 198.75 - 240.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยดินในแปลงปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) มีปริมาณ โพแทสเซียมมากที่สุดคือ 240.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และดินในแปลงปลูกหญ้าจอร์เจียร์(Spartina patens) มีปริมาณโพแทสเซียมน้อยที่สุดคือ 198.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อหญ้าอายุได้ 6 เดือน พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมในดินลดลงทุกแปลง แสดงว่ารากหญ้ามีการล าเลียงโพแทสเซียมเข้าสู่เซลล์ ซึ่งดินใน แปลงปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) มีปริมาณโพแทสเซียมในดินลดลงจาก 240.00 เหลือ 166.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีการล าเลียงสู่เซลล์มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับดินในแปลง หญ้าชนิดอื่น ตรงกันข้ามกับดินในแปลงหญ้าธรรมชาติที่มีโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นจาก 208.75 เป็น 213.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนดินหลังการทดลอง พบว่า หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) มีปริมาณโพแทสเซีมในดินเพิ่มมากที่สุดคือ จาก 172.5 เป็น 200.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วน แปลงปลูกหญ้า จอร์เจียร์(Spartina patens) มีปริมาณโพแทสเซียมน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับหลังปลูก หญ้าได้ 6 เดือน ปริมาณโซเดียมที่ละลายน้ าได้ (Soluble Sodium) จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน พบว่า ดินก่อนการทดลองในแปลงปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีปริมาณโซเดียมในดินมากที่สุดคือ 109.82 มิลลิโมลต่อลิตร รองลงมาคือหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) หญ้าธรรมชาติ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบ หยาบ (Dixie) และหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) คือ 81.00 64.85 60.05 และ 49.57 มิลลิโมลต่อลิตร (ตามล าดับ) หลังจากปลูกหญ้าได้ 6 เดือน พบว่า ดินในแปลงปลูกหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มี ปริมาณโซเดียมลดลงจาก 109.82 เหลือ 49.87 มิลลิโมลต่อลิตร และดินในแปลงปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) มีปริมาณโซเดียมลดลงจาก 81.00 เหลือ 47.56 มิลลิโมลต่อลิตร แสดงว่าหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้ มีคุณสมบัติในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเล เนื่องพืชมีกลไลในการดูดเกลือ จากดินและคายออกมาทางใบ ท าให้ปริมาณธาตุโซเดียมในดินลดลง ซึ่งสอดคล้องกับ อรุณี และสมศรี (2539 ก) ที่ท าการศึกษาความสามารถของหญ้าทนเค็ม พบว่า หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบ ละเอียด (Smyrna) มีความสามารถในการสะสมและขับเกลือออกมาทางใบได้ดีที่สุด เมื่อปลูกในดินที่มี โซเดียมสูง แต่ดินในแปลงปลูกหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) และหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) มีปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้น เป็น 89.52 และ 85.12 มิลลิโมลต่อลิตร ตามล าดับ ส่วนหลัง การทดลอง พบว่า แปลงปลูกหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) มีปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้น เพราะค่าการน า ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าการน าไฟฟ้าจะบอกถึงระดับความเค็มของดิน รวมทั้งปริมาณเกลือโซเดียมที่
การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above