ทะเบียนวิจัยเลขที่ 53-54- 04-12-30000-010-103-02-11 ชื่อโครงการ การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติ สิรินธร Biological method for rehabilitation coastal saline soil in the Sirindhon International Environmental Park สถานที่ด าเนินการ ส านักงานอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี ผู้ร่วมด าเนินการ นายไพรัช พงษ์วิเชียร Mr. Pirach Pongwichian นางอรุณี ยูวะนิยม Mrs. Arunee Yuwaniyama นายชัยนาม ดิสถาพร Mr. Chaiyanam Dissataporn บทคัดย่อ การศึกษาการใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลในพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติสิรินธร ด าเนินการที่ส านักงานอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างเดือนเมษายน 2553 ถึงกันยายน 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโต ของพืชทนเค็มชนิดต่างๆ ในดินเค็มชายทะเล และเพื่อศึกษาผลของการใช้พืชทนเค็มต่อการเปลี่ยนแปลง สมบัติทางเคมีของดินเค็มและการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเล ด าเนินการภายใต้แผนการทดลองสุ่มใน บล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ท า 4 ซ้ า พืชที่ทดสอบมีดังนี้คือ 1) Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (หญ้า Smyrna) 2) Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (หญ้า Dixie) 3) Distichlis spicata (หญ้า Seabrook) 4) Spartina patens (หญ้า Georgia) และ 5) หญ้าธรรมชาติ จากการศึกษาพบว่าหญ้า Dixie มี เปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงสุด มากกว่าหญ้า Smyrna หญ้าGeorgia และหญ้า Seabrook ตามล าดับ เมื่อพิจารณาน้ าหนักสดและน้ าหนักแห้ง พบว่าหญ้า Seabrook ให้น้ าหนักสดและน้ าหนักแห้งรวม สูงสุดตลอดการศึกษาคือ 3167.1 และ 1948.6 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ มากกว่าหญ้า Georgia หญ้า Smyrna และหญ้า Dixie ตามล าดับ ส าหรับปริมาณการสะสมธาตุโซเดียม (Na) พบว่าหญ้า Seabrook มี ปริมาณการสะสมธาตุโซเดียมมากกว่าหญ้า Georgia หญ้า Dixie และหญ้า Smyrna ตามล าดับ ส าหรับผลของชนิดหญ้าทนเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินหลังการทดลอง พบว่า โดยทั่วไปปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์และปริมาณ โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ที่มีค่าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าการน าไฟฟ้าของดินลดลง ค าส าคัญ : ดินเค็มชายทะเล หญ้าดิ๊กซี่ หญ้าสเมียร์ หญ้าซีบรูค หญ้าจอร์เจียร์
การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above