Page 6

การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

ในขณะที่ Gallagher (1979) รายงานว่า Sporobolus virginicus เป็นพืชที่ทนเค็มมาก สามารถมีชีวิตรอด อยู่ได้ในสารละลายธาตุอาหารที่มีความเค็ม 30% แม้ว่าการเจริญเติบโตจะลดลงบ้าง ส าหรับ Atriplex triangularis Will อยู่ในวงศ์ Chenopodiaceae เป็นพืชที่ใช้รับประทานได้ สามารถเจริญเติบโตและอยู่รอด ได้เมื่อความเข้มข้นของเกลือสูงประมาณ 30% (Gibbons, 1982) หญ้าคาลล่า (Leptochloa fusca L.Kunth)เป็นหญ้าทนเค็มอีกชนิดหนึ่งซึ่งเจริญเติบโตได้ในดินเค็มระดับ 12 ถึง 14 dS/m (Hussian และ Hussian, 1970) และเป็นหญ้าทนเค็มพันธุ์พื้นเมืองในประเทศปากีสถานและอินเดีย นิยมใช้เป็นพืชอาหาร แพะและแกะ (Queshi และคณะ, 1982) จากการศึกษาการคัดเลือกพืชชอบเกลือของอรุณีและสมศรี (2536ข) พบว่ามีพืชชอบเกลือหลาย ชนิดที่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็มจัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) Spartina patens, Distichlis spicata หญ้า Kallar (Leptochloa fusca) และ Atriplex spp. ซึ่งพืชเหล่านี้ มีคุณค่าทางอาหารสูงใช้เป็นพืชอาหารสัตว์ได้ จึงมีศักยภาพของความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์พื้นที่ดิน เค็มจัดให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ รังสรรค์และคณะ (2537) รายงานว่า หญ้า Spartina patens มีอัตราการรอดตายสูงกว่า Panicum repens หญ้า S. virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) และ S. virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) ตามล าดับในดินเค็มชายทะเล ระยะเวลาและสถานที่ด าเนินการ ระยะเวลาด าเนินการ เริ่มต้นเดือน เมษายน 2553 สิ้นสุดเดือน กันยายน 2554 สถานที่ด าเนินการ ส านักงานอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี อุปกรณ์และวิธีการ อุปกรณ์ 1. กล้าพืชทนเค็มได้แก่ Sporobolus virginicus ทั้งชนิดใบหยาบ (Dixie) และใบละเอียด (Smyrna) หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) และหญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) 2. ปุ๋ยคอก 3. อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดิน 4. อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ดินและพืช 5. กล้องถ่ายภาพ


การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above