Page 8

การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร

ผลการทดลองและวิจารณ์ผล 1. เปอร์เซ็นต์การรอดตายของหญ้าทนเค็ม จากการศึกษาพบว่าหญ้าทั้ง 4 ชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเค็มชายทะเล โดยที่หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญกับหญ้า ซีบรูค (Distichlis spicata) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูงสุด อยู่ระหว่าง 99 – 100 เปอร์เซ็นต์ ตลอด ระยะเวลา 3 เดือน ก่อนการตัดหญ้า รองลงมาคือหญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) อยู่ระหว่าง 97 – 99 เปอร์เซ็นต์ หญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) อยู่ระหว่าง 93 – 97 เปอร์เซ็นต์ และหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีเปอร์เซ็นการรอดชีวิตน้อยที่สุดอยู่ระหว่าง 83 – 90 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 1) แต่หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด มีการแพร่ขยาย ของต้นไปตามดินได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าชนิดอื่น ๆ ซึ่ง Yuvaniyama and Arunin (1992) ได้ศึกษา ความสามารถในการทนเค็มของพืชชนิดต่าง ๆ พบว่า หญ้า Smyrna และหญ้า Dixie มีเปอร์เซ็นต์รอดชีวิต ได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ในระดับความเค็ม 40 ppt NaCl เพราะหญ้าทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความสามารถในการขับ เกลือออกมาทางปากใบได้ดีกว่าหญ้า จอร์เจียร์ (Spartina patens) และหญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) 2. ความสูง จากการศึกษาการเจริญเติบโตด้านความสูงของหญ้าทนเค็มที่อายุ 4 เดือน พบว่า มีหญ้า 3 ชนิด ที่สามารถวัดความสูงได้ (ภาพที่ 1) เนื่องจากมีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นแบบตั้งตรง คือ หญ้า Sporobolus virginicus ชนิดใบละเอียด (Smyrna) Sporobolus virginicus ชนิดใบหยาบ (Dixie) และ หญ้าจอร์เจียร์ (Spartina patens) โดยเฉพาะหญ้าจอร์เจียร์ ที่มีลักษณะใบตั้งตรงยาว สามารถวัดความสูง ได้เฉลี่ย 79.75 เซนติเมตร โดยการเจริญเติบโตจะเพิ่มขึ้นเป็นแบบเส้นตรง และเริ่มคงที่เมื่อออกดอก ส่วน หญ้าสเมียร์นา มีความสูงประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร จะมีลักษณะเป็นก่อเล็ก ๆ ใบตั้งตรงไม่สูงมากเมื่อ เทียบกับหญ้าจอร์เจียร์ และมีลักษณะการเจริญเติบโตเหมือนกัน และหญ้าดิกซี่ มีความสูงประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร ล าต้นตั้งชันต้นหญ้ามีการเติบโตเป็นกอ โดยแต่ละกอมีความหนาแน่นสูง (Kunth, n.d.) ซึ่ง เมื่อพิจารณาดูการเจริญเติบโตของหญ้า พบว่าหญ้าทั้ง 4 ชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเค็มชายทะเล หญ้าซีบรูค (Distichlis spicata) ไม่สามารถวัดความสูงได้เนื่องจากมีการเจริญเติบโตแบบเลื้อยไปกับพื้น


การใช้พืชทนเค็มเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มชายทะเลใน พื้นที่ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
To see the actual publication please follow the link above