บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2.1 ประวัติความเป็นมาของสถานประกอบการ สืบเนื่องจากวันที่ 14 สิงหาคม 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ได้พระราชทานพระราชด าริ ให้จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อทดลองปลูกและฟื้นฟูสภาพป่า ชายเลนเพื่อให้ ระบบนิเวศป่าชายเลนกลับคืนสู่ธรรมชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2537 ได้ เสด็จพระราชด าเนินทรงปลูกป่าชายเลนชนิดต่าง ๆ ที่คลองบางตราใหญ่และคลองบางตรา น้อย และทรงมีพระราชด ารัสให้หาวิธีที่จะดูแลรักษาให้ต้นไม้ชายเลนที่ทรงปลูกไว้นี้อยู่รอดและ ให้ด าเนินการปลูกป่าชายเลนต่อไปในพื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งสองแห่ง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด าเนินมาทรงจักรยาน และทรงวิ่งออกก าลังพระวรกายบริเวณค่ายพระรามหก ได้ทอดพระเนตรสภาพดินและพื้นที่รก ร้างที่มีคราบเกลือบนพื้นดิน จึงได้พระราชทานพระราชด าริ ให้หาทางฟื้นฟูดินเสื่อมโทรม ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียวและมีความสวยงามตามธรรมชาติเพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการและ เป็นพื้นที่ส าหรับศึกษาระบบนิเวศที่ได้ปรับตัวหลังจากมีการปรับปรุงพื้นที่แล้วจนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2543 กองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอัน เนื่องมาจากพระราชด าริ และมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดีได้ร่วมกันจัดตั้ง “อุทยานสิ่งแวดล้อม นานาชาติ”ณ ค่ายพระรามหก อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี เพื่อน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสที่เจริญพระชนมายุครบ 4 รอบ ในปี พุทธศักราช 2546 โดยมีแนวทางในการด าเนินการตามแนวพระราชด าริและพระราชกรณียกิจ ที่ได้เสด็จพระราชด าเนินมาทรงงานในบริเวณค่ายพระรามหก เป็นแนวทางในการด าเนินงานให้ อุทยานฯ เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต โดยมุ่งหวังว่าเมื่ออุทยานฯ แห่งนี้เสร็จ สมบูรณ์แล้ว จะเป็นสถานที่เผยแพร่พระเกียรติคุณและพระปรีชาสามารถในด้านการอนุรักษ์ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศ และจะเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้ทางด้านการฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาด ป่า เบญจพรรณ และที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ตลอดจนเป็นสถานที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง นิเวศและเชิงประวัติศาสตร์ อันทรงคุณค่าของประเทศไทยและของโลก
รายงานผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above