33 พันธุกรรมของโกงกางลูกผสม โดย ดร. สุจิตรา จางตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม กรม อุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืชแล้วปรากฏว่าเป็นโกงกางลูกผสมจริงและมีต้นแม่เป็น โกงกางใบใหญ่ ท าให้มีลักษณะใกล้เคียงกับโกงกางใบใหญ่มากกว่าโกงกางใบเล็กและเป็นที่น่า เสียดายไม่สามารถขยายพันธุ์โดยเมล็ดได้เนื่องจากเป็นหมันและไม่สามารถตอนกิ่ง เสียบยอด และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ เนื่องจากมีสารสารแทนนิน (tannin) สูง อย่างไรก็ตามการวิจัยเพื่อ การขยายพันธุ์ โดยวิธีการช่วยผสมเกสร หรือการทาบกิ่ง อาจจะเป็นวิธีการหนึ่งจะช่วยในการ ขยายพันธุ์ได้และท าให้สามารถคงไว้ซึ่งโกงกางลูกผสม ซึ่งมีลักษณะล าต้นสูงใหญ่และเรือน รากแข็งแรงกว่าต้นโกงกางอื่นที่อยู่โดยรอบ การศึกษาการประโยชน์ของโกงกางลูกผสม จะ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการอนุรักษ์และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศชายฝั่งในอนาคต งานที่ได้รับมอบหมายในโครงการมีดังนี้ 1) งานท าตะแกรง จัดท าตะแกรงตาข่าย โดยน าท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว มาตัดเป็นท่อนๆ ขนาด 1 x 1 เมตร ประกอบกันด้วยข้อต่อให้ได้เป็นตะแกรงสี่เหลี่ยมจ านวน 6 ตะแกรง จากนั้น น าตาข่ายไนลอนมาขึงให้เท่าขนาดตะแกรงแล้วน าไปติดตั้งบริเวณใต้ต้นโกงกาง ภาพที่ 3.17 การท าตะแกรงตาข่ายเก็บเศษซากพืชบริเวณใต้ต้นโกงกาง ภาพที่ 3.18 การติดตั้งตะแกรงตาข่ายบริเวณใต้ต้นโกงกาง
รายงานผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี
To see the actual publication please follow the link above