Page 15

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

11 สำหรับในบริเวณพื้นที่ศึกษา ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูล การสำรวจภาคสนาม และการวิเคราะห์ผล พบว่า สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น พื้นที่ราบ ความลาดชันต่ำ แต่พบบริเวณที่เป็นแนวเขาทางด้านตอนบน และตอนกลางของพื้นที่ ก่อนที่จะลาด เอียงลงสู่ทะเลทางด้านทิศตะวันออก สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า บริเวณที่เป็นพื้นที่ภูเขาซึ่งมีสภาพดิน ตื้น บางพื้นที่เป็นลูกรัง หรือหินก้อน ยังปกคลุมด้วยพื้นที่ป่าไม้ซึ่งมีทั้งป่าเบญจพรรณในบริเวณพื้นที่ต่ำที่มี ระดับความสูงไม่มาก ตามร่องน้ำ หรือร่องเขา ซึ่งค่อนข้างมีความชื้นมากกว่า ส่วนบริเวณที่อยู่สูงขึ้นไปตาม ไหล่เขา และยอดเขา มีสภาพเป็นป่าเต็งรัง ส่วนบริเวณพื้นที่ดอน และที่ราบ เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ทาง การเกษตร พื้นที่ชุมชน พื้นที่พัฒนาเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว และพื้นที่ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งพื้นที่ บริเวณนี้ ดินเป็นดินทราย หรือทรายจัด ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมในการทำการเกษตร เนื่องจากเป็นดินที่มี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ รวมทั้งสมบัติทางอุทกวิทยาที่แสดงถึงการขาดน้ำ หรือไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ สภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกพืชไร่ เช่น สัปปะรด อ้อย มัน สำปะหลัง เป็นต้น นอกจากนั้น เป็นพื้นที่นา สวนไม้ผลผสม และไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ ส่วนพื้นที่ป่าไม้พบทั้งป่า บก และป่าชายเลน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลสภาพป่าปกคลุม และลักษณะทางนิเวศวิทยาของป่า พบว่า เหลือ พื้นที่ป่าปกคลุมในพื้นที่น้อย รวมทั้งลักษณะทางนิเวศวิทยาของพื้นที่ก็เสื่อมโทรมลงซึ่งมีสาเหตุมาจากกิจกรรม การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า การบุกรุก และปัญหาไฟป่า ซึ่งจากสภาพของป่าไม้ และดินที่มีสภาพเสื่อมโทรมลง ประกอบกับลักษณะอากาศของพื้นที่บริเวณนี้ซึ่งเป็นบริเวณที่มีฝนตกน้อย ประมาณ 900-1,100 มิลลิเมตรต่อ ปี เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ ส่งผลให้สภาพป่ายิ่งเสื่อมโทรมลง และเกิดผลต่อเนื่องไปถึงปริมาณน้ำ ที่พื้นที่ลุ่มน้ำได้รับในแต่ละปี รวมถึงน้ำที่เก็บกักในแหล่งน้ำต่าง ๆ สำหรับนำมาใช้ประโยชน์ด้วย แม้ว่าจะมี โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอยู่ก็ตาม จึงเป็นปัญหาที่สำคัญของ พื้นที่บริเวณนี้ที่ถือเป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง รวมทั้งได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณแห่งนี้ด้วย เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบ/โครงสร้างของระบบนิเวศลุ่มน้ำทั้งลุ่มน้ำบางตรา น้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย พบว่า ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติมีสภาพเสื่อมโทรมลง และมีแนวโน้มที่จะ เสื่อมสภาพมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยด้านการพัฒนา และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และพื้นที่ชุมชน รวมทั้งปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำ ให้ทรัพยากรต่าง ๆ เสื่อมโทรมลงไป ทั้งนี้ โครงการวิจัยที่มีการดำเนินการในครั้งนี้ ได้คาดการณ์ถึงแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต ซึ่งคาดการณ์ว่าพื้นที่ป่า และพื้นที่ การเกษตรมีแนวโน้มลดลง ส่วนพื้นที่ชุมชน มีพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งสภาพอากาศที่ฝนจะตกน้อยลง และ อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เสื่อมโทรมลงไป และส่งผล ต่อเนื่องไปถึงการทำหน้าที่/การบริการของทั้งระบบลุ่มน้ำ ทั้งการให้ปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม และการรักษาสภาพแวดล้อม คุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมลง จากการใช้ประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม การให้ผลผลิตต่าง ๆ จากป่าทั้งผลผลิตเนื้อไม้ และไม่ใช่เนื้อไม้ รวมทั้งการ ควบคุม และสนับสนุนกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสร้างความสมดุลในระบบลุ่มน้ำ 2.6.2 ปัญหา และสาเหตุของปัญหา ข้อมูลจากการสำรวจ และการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ลุ่ม น้ำเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการแบบบูรณาการ ซึ่งมีทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหา แนวทางการพัฒนา และแนวทางในการตั้งรับ และปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้น พิจารณาจากสภาพ ปัญหาต่าง ๆ ที่พบจากการสำรวจ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ลุ่มน้ำศึกษา


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above