Page 14

แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

10 เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนในช่วงฤดูฝนจะเป็นการเก็บกักน้ำฝนตามธรรมชาติ พบว่าในเดือนมกราคม 2558 มีปริมาณน้ำในห้วยตะแปดเพียง 1.07 ล้านลูกบาศก์เมตร (27%) เขากระปุก 0.17 ล้านลูกบาศก์เมตร (54.48%) ห้วยทราย 0.23 ล้านลูกบาศก์เมตร (12%) นอกจากปัญหาความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นแล้ว น้ำซึมลง ใต้ดิน และการระเหยของน้ำอันเนื่องมาจากความแห้งแล้งที่ยาวนาน ยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรง มากยิ่งขึ้น 4) คุณภาพน้ำผิวดิน การตรวจวัด และเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำที่ ในพื้นที่วิจัย ทั้งบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย และอ่างเก็บน้ำในระบบอ่างพวง ซึ่งมี พื้นที่จุดเก็บตัวอย่างรวม 9 จุด เก็บตัวอย่างในช่วงฤดูร้อน (เมษายน 2558) และช่วงฤดูฝน (สิงหาคม 2558) ซึ่งผลการวิเคราะห์ พบว่า บริเวณจุดเก็บตัวอย่าง Outlet ลุ่มน้ำบางตราน้อย มีสภาพเป็นแหล่งน้ำเค็ม จึงมีค่า ความเค็ม ค่าความนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และความกระด้างทั้งหมด สูงกว่าจุดเก็บ ตัวอย่างอื่น ๆ ส่วนดัชนีคุณภาพน้ำที่มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานในทุกจุดเก็บตัวอย่าง ได้แก่ ค่าความสกปรกในรูป บีโอดี ซึ่งบางจุดเก็บตัวอย่างมีค่าที่สูงมาก ทั้งนี้ แหล่งน้ำต่าง ๆ ที่เก็บตัวอย่างทั้งในช่วงฤดูร้อน และฤดูฝน มี ปริมาณน้ำน้อยมาก หลายอ่างเก็บน้ำมีกิจกรรมการจับปลาโดยชาวบ้าน รวมทั้งมีการปล่อยปศุสัตว์ลงไปใน แหล่งน้ำ ประกอบกับสภาพที่เป็นแหล่งน้ำปิด จึงทำให้คุณภาพน้ำบางดัชนีเกินค่ามาตรฐาน ทั้งนี้ ค่า BOD ที่มี ค่าสูงนี้สอดคล้องกับค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรียซึ่งมีค่าสูงขึ้น ก็แต่ไม่เกินค่า มาตรฐาน รวมทั้งพบว่ามีค่าสูงในช่วงการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนสำหรับช่วงฤดูฝน แต่ฝนตกน้อย ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ มีน้อยลง นอกจากนั้น ยังพบว่า ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ค่าความเป็น กรด-ด่าง ของจุดเก็บตัวอย่างบริเวณบ่อน้ำในอุทยานฯ สิรินธร และอ่างเก็บน้ำห้วยทราย มีความเป็นด่าง เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับการศึกษาคุณภาพน้ำผิวดินในแหล่งน้ำต่าง ๆ ในระบบอ่างพวง บริเวณลุ่มน้ำบางตราน้อย ลุ่มน้ำห้วยทราย และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำส่วนใหญ่ไม่เกินค่า มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ประเภทที่ 3 ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค และบริโภคได้ โดยต้องมี การปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน แต่ในทุกอ่างเก็บน้ำมีค่าความสกปรกในรูป BOD เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งมีสาเหตุ จากกิจกรรมต่าง ๆ ในอ่างเก็บน้ำทั้งการทำการประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ ประกอบกับสภาพที่แหล่งน้ำมีน้ำ เหลือน้อยมากจึงทำให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามตำแหน่งที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำ ต่าง ๆ พบว่า อ่างเก็บน้ำที่อยู่ทางตอนบนของพื้นที่ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม อ่างเก็บน้ำห้วยไม้ตาย และ อ่างเก็บน้ำบ้านทุ่งขาม ค่า BOD มีค่าต่ำกว่าแหล่งน้ำที่อยู่ทางตอนล่างลงมา 2.6 ความเชื่อมโยงของทรัพยากรลุ่มน้ำการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบ 2.6.1 ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มี สภาพภูมิประเทศตั้งแต่บริเวณที่เป็นพื้นที่ภูเขาจนกระทั่งถึงชายฝั่งทะเล จึงมีทั้งระบบนิเวศบก และต่อเนื่องไป ถึงระบบแหล่งน้ำทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล สภาพสังคมพืชที่ปรากฏในพื้นที่มีทั้งสภาพของป่าที่พบบน ภูเขา ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สภาพสังคมพืชที่พบบนที่เนิน และที่ราบ ได้แก่ ป่ารุ่นสอง สวนป่า ป่าปลูกฟื้นฟู ป่าชายหาด และพื้นที่ป่าชายเลน ทั้งนี้ ระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่จึงมีสภาพที่แตกต่างกัน รวมทั้ง สภาพของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิอากาศ ลักษณะ ทางธรณี และปฐพีวิทยา ทรัพยากรสัตว์ป่า ลักษณะทางอุทกวิทยา และลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่ง เป็นปัจจัยที่มีผลถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาก็มีความแตกต่างกันไป


แบบสรุปผู้บริหาร การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above