Page 101

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

89 ส่วนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการใช้แบบจำลองภูมิอากาศโลก (Global Climate Models) หรือแบบจำลองหมุนเวียนทั่วไป (General Circulation Models; GCMs) ทั้งนี้ ข้อมูลสำหรับพิจารณาเป็นข้อมูลในช่วงอดีต หรือปีฐาน ในช่วงค.ศ.1970-2005 (พ.ศ.2513-2548) และ พยากรณ์ข้อมูลในปีอนาคต หรือการคาดประมาณ ในช่วงค.ศ.2006-2040 (พ.ศ.2549-2583) ซึ่งผลจาก แบบจำลอง พบว่า การเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิเฉลี่ย และปริมาณน้ำฝน มีการเปลี่ยนแปลงไปจากข้อมูลในปี ฐาน โดยปริมาณน้ำฝนมีแนวโน้มลดลง ซึ่งจะมีค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่ำกว่า 800 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนอุณหภูมิ เฉลี่ย มีค่าสูงขึ้นโดยมีค่าสูงกว่าปีฐาน ประมาณ 0.82 องศาเซลเซียส ซึ่งผลการศึกษาแสดงว่า ในอนาคตการ เปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศโดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านปริมาณฝน และอุณหภูมิ มีแนวโน้มที่ส่งผลทำให้อากาศมี ความร้อนมากขึ้น รวมทั้งจากการที่ฝนมีแนวโน้มลดลง ย่อมทำให้มีโอกาสเกิดสภาวะความแห้งแล้งได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ สัตว์ป่า รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ทั้งในพื้นที่เมือง และในเขตรอบนอก โดยเฉพาะ ประชาชนที่ประกอบอาชีพในภาคการเกษตรที่ต้องอาศัยน้ำฝนในกิจกรรมการเกษตรต่าง ๆ รวมไปถึง สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอื่น ๆ ด้วย 6.2 ความเชื่อมโยงของทรัพยากรลุ่มน้ำการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบ การพิจารณาความเชื่อมโยงของทรัพยากรลุ่มน้ำในบริบทของการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ/ โครงสร้าง และการทำหน้าที่/การให้บริการของระบบนิเวศลุ่มน้ำ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องที่เกิดขึ้นจากการ เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกัน และกัน ทั้งนี้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เน้นการศึกษา และรวบรวมข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลการศึกษาที่เคยมีการดำเนินการในพื้นที่มาแล้ว และหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ในอดีตมาจนถึง ปัจจุบัน รวมทั้งการสร้างพื้นที่วิจัยสำหรับการศึกษาในอนาคตเพื่อเปรียบเทียบกับการคาดการณ์สถานการณ์ที่ จะเกิดขึ้น โดยพื้นที่วิจัยนี้เป็นพื้นที่สำหรับสาธิต และติดตามการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งนี้ ในการวิจัยนี้ ดำเนินการทั้งการรวบรวมข้อมูลภาคสนาม การระดมความคิดจากนักวิจัย และการประชุมร่วมกับประชาชนใน พื้นที่ ซึ่งจากข้อมูลต่าง ๆ สามารถสรุปประเด็นความเชื่อมโยงของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การ เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดแนวทาง ในการจัดการลุ่มน้ำแบบบูรณาการ ดังนี้ 6.2.1 ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พื้นที่ลุ่มน้ำศึกษาทั้งลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำห้วยทราย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มี สภาพภูมิประเทศตั้งแต่บริเวณที่เป็นพื้นที่ภูเขาจนกระทั่งถึงชายฝั่งทะเล จึงมีทั้งระบบนิเวศบก และต่อเนื่องไป ถึงระบบแหล่งน้ำทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำทะเล สภาพสังคมพืชที่ปรากฏในพื้นที่มีทั้งสภาพของป่าที่พบบน ภูเขา ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง สภาพสังคมพืชที่พบบนที่เนิน และที่ราบ ได้แก่ ป่ารุ่นสอง สวนป่า ป่าปลูกฟื้นฟู ป่าชายหาด และพื้นที่ป่าชายเลน ทั้งนี้ ระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่จึงมีสภาพที่แตกต่างกัน รวมทั้ง สภาพของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิอากาศ ลักษณะ ทางธรณี และปฐพีวิทยา ทรัพยากรสัตว์ป่า ลักษณะทางอุทกวิทยา และลักษณะทางเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่ง เป็นปัจจัยที่มีผลถึงลักษณะทางนิเวศวิทยาก็มีความแตกต่างกันไป สำหรับในบริเวณพื้นที่ศึกษา ข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูล การสำรวจภาคสนาม และการวิเคราะห์ผล พบว่า สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above