ÃÒ§ҹ¡ÒÃÇÔ¨ÑÂ.pdf

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

1 การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง Research and Development on Watershed Ecosystem Administration and Management under Climate Change Condition: A Case Study for Sirindhorn International Environmental Park (SIEP) and Adjacent Areas การบูรณาการจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำ กรณีทรัพยากรป่าไม้ และน้ำ บริเวณลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำ ห้วยทราย อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง Integrated Watershed Ecosystem Management: A Case of Forest and Water Resources in Bangtranoi and Huaisai Watershed, Sirindhorn International Environmental Park (SIEP) and Adjacent Areas 1. ความสำคัญ และที่มาของปัญหา ทิศตะวันตกของอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีเขาหนอกวัว เขาหุบสบู่ เขาพุหวาย เขาเสวยกะปิ เขา น้อย และเขาทอง เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยตะแปด ลำห้วยใหญ่และห้วยทราย และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่า เบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ ต่อมาชุมชนขยายตัวมากขึ้น เกิดการบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อเป็นพื้นที่ทำกิน ทำให้ในระยะ 30 ปีก่อนการพัฒนา พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนเหลือพื้นที่เล็กน้อยอยู่บนยอดเขา ฝนฟ้าไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล คุณภาพของดินเสื่อมโทรมกลายเป็นดินทราย และดินดาน ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งเมื่อ วันที่ 5 เมษายน 2526 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชดำริจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย ขึ้น โดยจัดทำระบบป่าเปียกด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำขึ้นเขา และปล่อยให้ไหลบ่าผิวดิน เพื่อความ ชุ่มชื้น และสร้างฝายกักเก็บน้ำไว้ตามร่องเขา ขุดสระเก็บกักน้ำในบริเวณเชิงเขาด้านล่าง นอกจากนี้ ยังทรงนำ หญ้าแฝกมาปลูกในที่ดินที่แข็ง-เป็นดินดาน เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้สามารถอุ้มน้ำ ปลูกต้นไม้ และทำ การเกษตรอย่างได้ผล เป็นผลให้พื้นที่บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และแหล่งน้ำ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่จรดชายฝั่งทะเล เมื่อผืนป่าห้วยทรายเริ่มฟื้นตัว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้สนองพระราช ปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งหวังให้พื้นที่ที่แห้งแล้งกลับฟื้นคืนสู่สภาพเดิม ด้วยการฟื้นฟู ระบบนิเวศให้เชื่อมโยงกันทั้ง 3 ระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ ระบบนิเวศป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ระบบนิเวศ เกษตรกรรม และระบบนิเวศชายฝั่งทะเล ในปี2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรง มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูป่าชายเลน และพลิกฟื้นพื้นที่เสื่อมโทรมสู่ระบบนิเวศป่าชายเลน เพื่อเพิ่มความหลากหลาย ทางชีวภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเล อีกทั้งได้มีการจัดทำแนวกันคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล จากปี2526 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงมุ่งมั่นที่จะพลิกฟื้นความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น แบบอย่างในการแก้ไขวิกฤตความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในพื้นที่บริเวณห้วยทราย และอุทยาน สิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ยากจะหาพื้นที่ใดเสมอเหมือนได้กลายเป็นพื้นที่สาธิตควร แก่การเป็นแบบอย่างในการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่ชาวโลกรวมทั้งคนไทยที่กำลังประสบภัยธรรมชาติอัน เนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above