Page 22

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง

10 5) บ่อพักน้ำเขากระปุก ที่ตั้ง ม.6 ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ความจุ 0.312 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำท่ารายปีประมาณ 0.300 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับน้ำฝน 3.50 ตร.กม. พื้นที่ชลประทาน 300 ไร่ ก่อสร้างปี2528 รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดโดยคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 6) อ่างเก็บน้ำห้วยทราย ที่ตั้ง ม.8 ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ความจุ 1.95 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำท่ารายปีประมาณ 1.00 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับน้ำฝน 4.00 ตร.กม.พื้นที่ชลประทาน 2,500 ไร่ ก่อสร้างปี2527 รับการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดบริเวณปลายคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวาที่บ่อพักน้ำ เขากระปุกโดยระบบท่อผันน้ำ 7) อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (หุบกะพง) ที่ตั้ง ม.10 ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ความจุ 0.80 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำท่ารายปีประมาณ 0.738 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับน้ำฝน 5.00 ตร.กม. พื้นที่ชลประทาน 1,200 ไร่ ก่อสร้างปี2524 รับการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำทุ่งขามโดยระบบท่อผันน้ำ 3.7.2 คุณภาพน้ำผิวดิน การศึกษาสิ่งมีชีวิตในน้ำที่ทำการศึกษาบริเวณพื้นที่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(คณะวนศาสตร์, 2551) ได้ทำการศึกษา คุณภาพน้ำบางประการ โดยผลการศึกษาคุณภาพน้ำในช่วงเดือนตุลาคม 2550 เดือนมกราคม 2551 และเดือน พฤษภาคม 2551 พบว่า แหล่งน้ำในบริเวณอุทยานฯ สิรินธร มีค่าฟอสเฟต อยู่ในช่วง 0.05-0.51, 0.003-0.012 และ 0.002-0.085 mg./l. P ตามลำดับ ส่วนแหล่งน้ำในบริเวณศูนย์ศึกษาฯ ห้วยทราย (ซึ่งมีจุดตรวจวัดบริเวณบ่อ พักน้ำเขากระปุก และอ่างเก็บน้ำห้วยตะแปดด้วย) มีค่าอยู่ในช่วง 0.10-0.26, 0.006-0.023 และ 0.004-0.027 mg./l. P ตามลำดับ ส่วนค่าไนเตรต-ไนโตรเจน อยู่ในช่วง 0.008-0.089, 0.008-0.229 และ 0.004-0.031 mg./l. N ตามลำดับ สำหรับแหล่งน้ำในอุทยานฯ สิรินธร ส่วนแหล่งน้ำในบริเวณศูนย์ศึกษาฯ ห้วยทราย มีค่าอยู่ในช่วง 0.016-0.48, 0.009-0.077 และ 0.0005-0.043 mg./l. N ตามลำดับ 4.ระเบียบวิธีวิจัย 4.1 กรอบแนวคิดในการวิจัย การวิจัยภายใต้โครงการวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง ตาม รายละเอียดในข้อเสนอโครงการวิจัยประกอบด้วยการสำรวจทรัพยากรป่าไม้ และน้ำ (ปริมาณ และคุณภาพ น้ำ) รวมทั้งพิจารณาความเชื่อมโยงของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในระบบลุ่มน้ำ (ทรัพยากรดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพภูมิอากาศ) และการใช้ประโยชน์พื้นที่แบบบูรณาการ ในบริเวณพื้นที่ จากห้วยทรายถึงชายฝั่งทะเล และบริเวณโดยรอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลจากการวิจัยจะอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลง ของระบบพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อหาแนวทางในการจัดการ และแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของทั้ง หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป โดยเน้นเรื่องทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำเป็นหลัก และ ร่วมจัดทำแผนแบบบูรณาการในโอกาสต่อไป (ภาพที่ 1)


รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การวิจัย และพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ: กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และพื้นที่ต่อเนื่อง
To see the actual publication please follow the link above